ผักเบี้ยทะเล ลำต้นใช้เป็นอาหารสัตว์

ผักเบี้ยทะเล

ชื่ออื่นๆ :  ผักเบี้ย, ผักเบี้ยทะเล

ต้นกำเนิด : พบทั่วไปบริเวณป่าชายเลน ในที่ชื้นแฉะ และน้ำท่วมไม่ถึง

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sesuvium portulacastrum L.

ชื่อวงศ์ :  AIZOACEAE

ลักษณะของผักเบี้ยทะเล

ต้น   เป็นไม้ล้มลุกทนแล้งได้ดี แตกกิ่งก้านสาขามาก สูงไม่เกิน 50 เซนติเมตร มีรากงอกตามข้อลำต้นที่สัมผัสดิน ลำต้นแตกกิ่งก้านโปร่ง มักจะทอดเลื้อยไปตามผิวดิน ยอดใหม่แตกตามข้อปล้อง  ลำต้น เรียบหนา แตกกิ่งก้านโปร่ง แผ่ราบตามพื้นดินอวบน้ำ ทอดเลื้อยไปตามผิวดิน แผ่กระจายเป็นร่างแห ชูยอดสูง ยอดใหม่แตกตามข้อปล้อง ลำต้นสีเขียวปนแดง หรือม่วง

ต้นผักเบี้ยทะเล
ต้นผักเบี้ยทะเล ลำต้นหนา ทอดเลื้อยไปตามผิวดิน

ใบ  ใบเดี่ยว เรียงแบบตรงข้าม รูปขอบขนาน เป็นมัน รีเล็ก ใบหนา อวบน้ำ เพื่อเก็บน้ำและป้องกันการสูญเสียน้ำ ก้านใบสั้น ปลายใบโค้งมน ฐานใบเข้าหา เส้นกลางใบ

ใบผักเบี้ยทะเล
ใบผักเบี้ยทะเล ใบเป็นมัน รีเล็ก ใบหนา อวบน้ำ

ดอก ดอกสมบูรณ์เพศ ออกดอกปลายยอด, ตามซอกใบ ดอกขนาดเล็กสีม่วงอมสีชมพู กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีชมพู เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เกสรเพศเมีย 4 – 5 อัน รังไข่อยู่เหนือฐานรองดอก

ดอกผักเบี้ยทะเล
ดอกผักเบี้ยทะเล ดอกขนาดเล็กสีม่วงอมสีชมพู

ผล ผล เป็นแคปซูล มี 4 carpel กลีบเลี้ยงห่อหุ้ม คล้ายดอกยังตูม เมื่อผลแก่จะแตกออก มีหลายเมล็ดสีดำ หลุดออกเหลือเพียงกลีบเลี้ยงแห้งติดต้น ออกดอก – ผลตลอดปี

การขยายพันธุ์ของผักเบี้ยทะเล

การใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ผักเบี้ยทะเลต้องการ

เจริญเติบโตได้ดีในดินทราย ดินเหนียวตามชายฝั่ง

ประโยชน์ของอาศัยผักเบี้ยทะเล

ต้นเป็นอาหารสัตว์ เช่น สุกร

สรรพคุณของผักเบี้ยทะเล

คุณค่าทางโภชนาการของผักเบี้ยทะเล

การแปรรูปผักเบี้ยทะเล

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :  www.rusamilae.go.th
ภาพประกอบ :  www.flickr.com

One Comment

Add a Comment