มะกอกพราน
ชื่ออื่นๆ : มะกอกพราน (ภาคกลาง) ขาเปี๋ย (น่าน) โคนาเค่ (กระเหรี่ยง เชียงใหม่) ซอเส่ (กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) มะกอกฟาน (ภาคเหนือ)
ต้นกำเนิด : พบทั่วไปตามป่าผลัดใบและป่าดิบเขา ที่ความสูง 400-1,600 ม. บริเวณชายป่าที่ค่อนข้างชื้น
ชื่อสามัญ : Turpinia pomifera (Roxb.) DC.
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Turpinia pomifera DC.
ชื่อวงศ์ : STAPHYLEACEAE
ลักษณะของมะกอกพราน
ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็กไม่ผลัดใบ เรือนยอดโปร่ง เปลือกนอกเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ด สีเทาอมน้ำตาล เปลือกในสีน้ำตาล
ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบย่อย รูปรีหรือรูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนทู่หรือสอบแคบ ขอบจักฟันเลื่อยไม่สม่ำ เสมอ แผ่นใบหนา เกลี้ยงเป็นมันทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีอ่อนกว่า ก้านใบสั้น เรียงตรงข้าม ยอดและ ใบอ่อนสีม่วง
ดอก ช่อดอกออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง มีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน หรือสีครีม ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม
ผล ผลสดกลมหรือบิดเบี้ยว ผิวเรียบเกลี้ยง เปลือกหนา สุกสีเหลืองอมเขียว ก้านผลยาว ติดผลเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
การขยายพันธุ์ของมะกอกพราน
การใช้เมล็ด
เป็นไม้ชั้นล่างถึงชั้นกลางในป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าดิบประเภทอื่นและพบประปรายในป่าเบญจพรรณชื้น
ธาตุอาหารหลักที่มะกอกพรานต้องการ
ประโยชน์ของมะกอกพราน
- ยอดอ่อนและใบอ่อนทำ ให้สุกกินเป็นผัก
- ผลสุกเป็นอาหารของเก้งและกวาง
- ผลใช้ย้อมสี ย้อมตอกในการจักสาน ให้มีสีดำ
สรรพคุณทางยาของมะกอกพราน
เปลือก ต้น ใบ รสเฝื่อน ตำทาแก้ปวดบวมตามข้อเนื่องจากไขข้ออักเสบ
คุณค่าทางโภชนาการของมะกอกพราน
การแปรรูปของมะกอกพราน
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th, www.qsbg.org
ภาพประกอบ : www.flickr.com