มะลิลา Malila ชื่อวิทยาศาสตร์ Agave americana L. พืชทนแล้ง อายุหลายปี

มะลิลา

ชื่ออื่นๆ : มะลิลา Malila (กรุงเทพ) สับปะรดเทศ

ต้นกำเนิด : อเมริกากลาง ภาคเหนือตอนใต้และทางตอนเหนือของอเมริกาใต้

ชื่อสามัญ : Ammerican aloe, Centuryplant

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Agave americana L.

ชื่อวงศ์ : AGAVACEAE

ลักษณะของมะลิลา

ต้น  ไม้ล้มลุก ลำต้นสั้น พืชทนแล้ง อายุหลายปี

ใบ  ใบเดี่ยว มี 30-40 ใบหรือมากกว่า เรียงเวียนเป็นกอที่ระดับพื้นดิน รูปใบหอกกลับแคบ ขนาดใหญ่ ยาว 1-2 เมตร กว้าง 15-20เซนติเมตร ปลายใบแหลมกึ่งเรียวแหลม ที่ปลายสุดมีหนามแหลมและหนามเล็กๆ ตามขอบใบ แผ่นใบโค้งพับลงเหมือนหักงอ ผิวใบสีเขียวแกมน้ำเงิน เรียบเกลี้ยงแต่มีนวลขาว เนื้อใบหยาบแข็ง มีเส้นใยจำนวนมาก

ต้นมะลิลา
ต้นมะลิลา ใบเรียงเวียนเป็นกอ ปลายใบแหลม มีหนามแหลม

ดอก  ช่อดอกออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกโดด ทั้งช่อสูง 6-12 เมตร แตกกิ่งสาขาที่ช่วงบน มีใบประดับอยู่ตามแกนของช่อ 50-60 ใบ จำนวนดอกหนาแน่น ดอกมีวงกลีบรวมสีเหลืองอมเขียว ยาว 3.5-4.5 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 6 แฉก เกสรเพศผู้ 6 อัน ยื่นยาวโผล่พ้นกลีบรวม ออกดอกเพียงครั้งเดียว หลังจากออกดอกแล้วต้นก็จะตายไป

ดอกมะลิลา
ดอกมะลิลา สีเหลืองอมเขียว จำนวนดอกหนาแน่น

ผล  ผลแบบผลแห้งรูปขอบขนาน ขนาดประมาณ เซนติเมตร แตกกลางพูออกเป็น ซีก เมล็ดจำนวนมาก สีดำ บางและแบน เมล็ด ผิวเกลี้ยงเป็นมัน

การขยายพันธุ์ของมะลิลา

การใช้เหง้า, การแยกหน่อ, การเพาะเมล็ด

ขึ้นตามที่อยู่อาศัยเก่า พื้นทราย ริมฝั่งน้ำ และริมทาง นอกจากนี้ยังเติบโต ในทะเลทราย ป่าโปร่ง และทุ่งหญ้า ที่ระดับความสูง 500–1 300 ม. มันทนแล้ง และชอบแดดจัดและซอยระบายน้ำดี

ธาตุอาหารหลักที่มะลิลาต้องการ

ประโยชน์ของมะลิลา

  • ปลูกเป็นไม้ประดับ
  • ใบมีเส้นใยมาก สามารถนำไปผลิตเชือกป่านได้

สรรพคุณของมะลิลา

น้ำจากใบ ใช้เป็นยาฆ่าแมลง

คุณค่าทางโภชนาการของมะลิลา

การแปรรูปมะลิลา

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.botany.sc.chula.ac.th, www.qsbg.org
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment