รักป่า ต้นยางรัก ยางใช้ทำเครื่องจักสานและเครื่องใช้สอย

ต้นรักป่า

ชื่ออื่นๆ : รักเขา (ชุมพร, ระนอง) รักป่า (ชุมพร, ประจวบคีรีขันธ์) รือขะ (มลายู, ปัตตานี) ต้นยางรัก

ต้นกำเนิด : พบตามป่าดิบชื้น ป่าที่ลุ่มต่ำ และบริเวณป่าพรุทางภาคใต้ของประเทศไทย

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Semecarpus curtisii King

ชื่อวงศ์ :  ANACARDIACEAE

ลักษณะของรักป่า

ต้น  ไม้ต้นสูงถึง 15 เมตร เรือนยอดแคบ แตกกิ่งน้อย เปลือกสีน้ำตาลเทาหรือค่อนข้างคล้ำ เรียบหรือแตกสะเก็ดเปลือกชั้นในสีน้ำตาลแกมเหลือง

ใบ  แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับถึงรูปหอกกลับ กว้าง 7-12 เซนติเมตร ยาว 23.5-47 เซนติเมตร ผิวใบด้านล่างขาวนวล ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบ เส้นแขนงใบ 14-38 คู่ ก้านใบยาว 2.5-7.5 คู่ แต่บางครั้งสั้นมาก

ต้นรักป่า
ต้นรักป่า เรือนยอดแคบ แตกกิ่งน้อย แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับถึงรูปหอกกลับ

ดอก  ดอกสีขาวนวลถึงเหลืองอ่อน มีเส้นลายสีน้ำตาล ออกเป็นช่อแยกแขนงตามปลายกิ่ง

ผล  ผลค่อนข้างกลมถึงรี กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร  ยาวประมาณ 1.75 เซนติเมตร ผลมีฐานผลบวมเป็นเนื้อ

ผลรักป่า
ผลรักป่า ผลกลมถึงรี ผลมีฐานผลบวมเป็นเนื้อ

การขยายพันธุ์ของรักป่า

การใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่รักป่าต้องการ

ประโยชน์ของรักป่า

เครื่องจักสานและเครื่องใช้สอย ยางรัก เป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตเครื่องเขิน ทำหน้าที่ประสานคล้ายกาวหรือเรซินทำให้โครงไม้ไผ่ของเครื่องจักสานให้มีความแข็งแรง ขณะเดียวกันเมื่อแห้งแล้วมีคุณสมบัติคล้ายพลาสติก น้ำซึมผ่านไม่ได้ และยังทำหน้าที่เป็นวัสดุเคลือบผิว และยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักสานได้เป็นอย่างดี

สรรพคุณของรักป่า

คุณค่าทางโภชนาการของรักป่า

การแปรรูปรักป่า

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี, www.biodiversity.forest.go.th, www.lannainfo.library.cmu.ac.th

One Comment

Add a Comment