ลำโพง
ชื่ออื่นๆ : ภาคกลาง (ลำโพง, ลำโพงขาว, ลำโพงกาสลัก) ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มะเขือบ้า) ส่วย-สุรินทร์ (ละอังกะ) เขมร-สุรินทร์ (เลี๊ยก) จีน-กรุงเทพฯ (มั่งโต๊ะโล๊ะ)
ต้นกำเนิด : อินเดีย
ชื่อสามัญ : Thorn Apple
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Datura metel Linn.
ชื่อวงศ์ : SOLANACEAE
ลักษณะของลำโพง
ต้น เป็นพืชล้มลุก ลำต้นเมื่อโตเต็มที่มีขนาดความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร แตกกิ่งก้านต้นเปราะแต่เปลือกต้นจะเหนียว
ใบ ใบเดี่ยวขนาดใหญ่ รูปไข่ เรียงสลับ ใบกว้าง 7-12 ซ.ม. ยาว 12-20 ซ.ม. ขอบใบหยัก ก้านใบและแผ่นใบสีเขียวอ่อน ฐานของแผ่นใบจะไม่เท่ากัน
ดอก ดอกเป็นชนิดดอกเดี่ยว ดอกจะออกตรงบริเวณโคนก้านใบกับแขนงของกิ่ง เมื่อดอกโตเต็มที่จะบานออกมีรูปร่างคล้ายแตร หรือเครื่องลำโพงขยายเสียง ดอกมีขนาดยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร สีนวลชั้นเดียว
ผล ผลเป็นรูปกลม มีหนาม ขนาดของผลมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 ซ.ม. เมื่อแก่จัดแตกออก ภายในมีเมล็ดสีนํ้าตาลแบนๆ เป็นจำนวนมาก

การขยายพันธุ์ของลำโพง
ใช้เมล็ด/เพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ลำโพง
–
ประโยชน์ของลำโพง
มีการใช้ต้นลำโพงเป็นยา โดยใช้ใบสด ตำพอกฝี แก้ปวดบวมอักเสบ ดอกแห้ง ผสมยาฉุนสูบแก้อาการหอบหืด เมล็ด หุงทำน้ำมันใส่แผล แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาพบว่า ใบและยอดต้นลำโพง มีแอลคาลอยด์ไฮออสไซยามีน (hyoscyamine) และไฮออสซีน (hyoscine) ซึ่งมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ แก้อาการปวดท้องเกร็ง และขยายหลอดลม แก้หอบหืด และใช้ควบคุมอาการอาเจียนจากการเมารถได้

สรรพคุณทางยาของลำโพง
- ใบ รสเมาเบื่อ ตำพอกฝีทำให้ยุบ แก้ปวดบวม อักเสบ
- ดอก หั่นตากแดดให้แห้ง ใช้มวนสูบแก้ริดสีดวงจมูกและหอบหืด
- ผล แก้ไข้พิษ แก้ไข้ที่ทำให้กระสับกระส่าย
- เมล็ด คั่วพอหมดน้ำมัน ปรุงทำกินเป็นยา บำรุงประสาท แก้ไข้พิษ
- น้ำมันจากเมล็ด ฆ่าเชื้อโรค แก้กลากเกลื้อน หิด เหา เชื้อโรคที่มีตัว
- ราก รสเมาหวานน้อยๆ แก้ฝีกาฬทั้งปวง ดับพิษ ร้อน แก้ปวดบวมอักเสบ
- ถ่านจากราก รสเย็น แก้ไข้พิษ เซื่องซึม แก้ไข้กาฬ
นอกจากนี้ บางตำรายังระบุว่า รากลำโพงใช้แก้หมาบ้ากัด แก้วิกลจริต และลำโพงทั้งต้นตากแห้งหั่นสูบแก้โรคหืด
ส่วนที่เป็นพิษ : ทุกส่วน
อาการเป็นพิษ
จากข้อมูลของสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่าสารออกฤทธิ์ที่พบมากใน เมล็ด และใบลำโพงคือ โทรเพน อัลคาลอยด์ ได้แก่ สโคโพลามีน (scopolamine) และไฮออสไซอะมีน (hy-oscyamine) ถ้ากินเมล็ดและใบของลำโพงเข้าไป จะปรากฏอาการภายในเวลา 5-10 นาที อาการที่พบคือ กระหายน้ำรุนแรง ปากและคอแห้ง ตาพร่า ม่านตาขยาย สู้แสงไม่ได้ น้ำลายแห้งทำให้กลืนน้ำลายยากและพูดไม่ชัด ผิวหนังร้อนแดงและแห้ง ตัวร้อน ปวดศีรษะ รู้สึกสับสน กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน มึนงง มีอาการประสาทหลอน (ผู้เขียนเคยได้ยินการหายใจช้าและขัด ผิวหนังเป็นสีคล้ำเพราะขาดออกซิเจน
เด็กบางคนอาจมีอาการชัก ชีพจรเต้นเร็วและอ่อน
วิธีการรักษา
- รีบส่งโรงพยาบาล เพื่อทำการล้างท้อง แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ก็ให้ยาระบาย และยาทำให้อาเจียน
- ในรายที่มีการตื่นเต้นมากควรให้ยาสงบระงับ morphine แต่ในการใช้ควร ใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะ morphine ออกฤทธิ์กดศูนย์ควบคุมการหาย ใจและอัลคาลอยด์ในกลุ่ม atropine ก็ออกฤทธิ์กดศูนย์ควบคุมการหายใจด้วย ในขั้นสุดท้ายแทนที่จะไปแก้พิษก็กลับจะไปเพิ่มพิษให้สูงขึ้น
- ให้ยาพวก cholinergic และอาจให้ barbituratte หากมีอาการชัก
- ควรจะอยู่ในที่มืดให้นอนพักในห้องพักและอาจจะต้องหยอดตาด้วย Pilopine5. เช็ดตัวเพื่อลดไข้

คุณค่าทางโภชนาการของลำโพง
–
การแปรรูปของลำโพง
–
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10335&SystemType=BEDO
https://www.doctor.or.th
https://th.wikipedia.org
http://www.uniserv.buu.ac.th
https://medplant.mahidol.ac.th
https://www.flickr.com
3 Comments