ลูกกรูด หรือ มะกรูด
ชื่ออื่นๆ : ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ใต้) มะหูด (หนองคาย) มะขูด มะขุน (เหนือ) มะขู (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) โกร้ยเชียด (เขมร)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Leech Lime, Kaffir Lime, Porcupine orange
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus hystrix DC.
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ลักษณะของลูกกรูด หรือ มะกรูด
ลักษณะทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก ลำต้นเป็นไม้เนื้อแข็ง ผิวเปลือกต้นเรียบ ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลม
ใบ : ใบมีลักษณะคล้ายกับใบไม้ 2 ใบ ต่อกันอยู่ ใบมีสีเขียวแก่ พื้นผิวใบเรียบเกลี้ยง เป็นมัน ไม่มีกลิ่นหอม
ดอก : ดอกมีสีขาว คล้ายดอกมะนาว ดอกมีกลิ่นหอม
ผล : ผลมีขนาดเท่ากับผลมะนาว ผิวเปลือกนอกขรุขระ ขั้วหัวท้ายของผลเป็นจุก ผลอ่อนมีเป็นสีเขียวแก่ เมื่อผลสุกก็จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด

การขยายพันธุ์ของลูกกรูด หรือ มะกรูด
ใช้กิ่ง/ลำต้น/เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำ และความชื้นในปริมาณปานกลาง
ธาตุอาหารหลักที่ลูกกรูด หรือ มะกรูดต้องการ
ประโยชน์ของลูกกรูด หรือ มะกรูด
– ใบ ปรุงอาหารดับกลิ่นคาว
– น้ำมันภายในกิ่ง ใช้สกัดน้ำหอม ผิวผลใ ช้ปรุงอาหาร
– ผลสด ใช้เป็นยาสระผม ทำให้ผมสะอาด ชุ่มชื้น ดกดำและกันรังแค
– น้ำมะกรูด แก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน
– ผิวมะกรูด ใช้ทำน้ำมนต์ในงานทำบุญต่างๆ เช่น งานแต่งงาน

สรรพคุณทางยาของลูกกรูด หรือ มะกรูด
สรรพคุณ : ใบ ใช้ใบสด นำมาปรุงกับอาหารช่วยดับกลิ่นคาว
ผล ใช้ผลสด นำมาประกอบอาหาร หรือนำมาดองใช้เป็นยาฟอกเลือดในสตรี ขับลมในลำไส้ ขับระดู แก้ลมจุกเสียด แก้โรคลักปิดลักเปิด และใช้บำรุงประจำเดือน หรือใช้ผลสด นำมาผิงไฟให้เกรียมแล้ว ละลายให้เข้ากับน้ำผึ้ง ใช้ทาลิ้นให้เด็กที่เกิดใหม่ เป็นต้น
คุณค่าทางโภชนาการของลูกกรูด หรือ มะกรูด
การแปรรูปของลูกกรูด หรือ มะกรูด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11076&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com