วงศ์กระบองเพชร CACTACEAE ไม้ล้มลุกอวบน้ำ อายุหลายปี

ลักษณะประจำวงศ์

ลักษณะวงศ์เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี ไม้เลื้อย ไม้พุ่ม หรือบางทีพบไม้ต้นขนาดเล็ก มักขึ้นในที่แห้งแล้ง อวบน้ำ มีใบที่ลดรูปไปเป็นหนาม หรือใบหลุดร่วงเร็ว มีน้ำเลี้ยงใสหรือน้ำเหนียว ลำต้นมักมีขนาดใหญ่เป็นรูปทรงกระบอกหรือแบน มักเป็นปุ่มหรือเป็นสัน ไม่แตกกิ่งก้านเป็นข้อต่อ มีรากออกที่ผิวเล็กเรียว นุ่ม บางทีใหญ่และติดแน่น หรือใบไม่เจริญเป็นเพียงแค่เกล็ด และหลุดล่วงง่าย มีตาตรงง่ามใบ (หรือง่ามกิ่ง) เป็นบริเวณนูนขึ้นคล้ายเป็นหมอน และมีหนามขึ้นเป็นกลุ่ม ดอกออกเดี่ยว เกิดเหนือหรือใกล้ขุมหนาม ดอกสมบูรณ์เพศ สมมาตรตามรัศมี มีขนาดใหญ่บานเห็นชัด ไม่มีก้านดอก มีวงต่อมน้ำหวานอยู่ด้านในของฐานดอกรูปถ้วย กลีบรวมมีจำนวนมาก โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยโดยทั่วไป สีแดง ม่วง ส้ม เหลือง หรือขาว เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เรียงเวียงสลับบนฐานดอก ก้านเกสรเพศผู้แยกกัน อับเรณูติดกับก้านเกสรเพศผู้ที่โคนหรือด้านหลัง แตกตามยาว เกสรเพศเมียมี 1 อัน มี 3 ถึงหลายคาร์เพล รังไข่ติดใต้วงกลีบ มี 1ช่อง มักจะฝังอยู่ในลำต้น มีขน หรือหนามปกคลุม มีออวุลจำนวนมาก ในหนึ่งช่องก้านเกสรเพศเมียมี 1 อัน ยอดเกสรเพศมีมีเท่ากับจำนวนคาร์เพล มักจะแตกเป็นแนวรัศมี หนา มีตุ่มนิ่ม ผลเป็นแบบมีเนื้อหลายเมล็ด มักมีหนาม เมล็ดมีจำนวนมาก จมอยู่ในเนื้อ 

ลักษณะเด่นของวงศ์

วงศ์ของพืชชนิดนี้เป็นไม้ล้มลุกอวบน้ำถึงไม้ต้นขนาดเล็ก ขึ้นในที่แห้งแล้งลำต้นมีขนาดใหญ่ เป็นปุ่มสันหรือเป็นข้อต่อ มีรากออกที่ผิว ใบไม่มี หรือลดรูปมี ตาตรงง่ามใบ หรือง่ามกิ่งเป็นบริเวณนูนขึ้นคล้ายเป็นหมอน มีน้ำขึ้นเป็นกลุ่ม ดอกเดี่ยวมีขนาดใหญ่ บานเห็นชัด กลีบรวมมีจำนวนมาก เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เรียงเวียงสลับบนฐานรังไข่ติดใต้วงกลีบ มี 1 ช่อง มักจะฝังอยู่ในลำต้น ผลเป็นแบบมีเนื้อหลายเมล็ด มักมีหนาม

วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง

  • Euphorbiaceae สกุล Euphorbia ดอกเป็นช่อแบบช่อรูปถ้วย (Cyathium) ยอดเกสรเพศเมีย มี 3 แฉก มี 1 ออวุล ใน 1 ช่องรังไข่

การกระจายพันธุ์

พบในทะเลทรายในทวีปอเมริกา และกระจายไปทั่วโลก สกุลที่พบในประเทศไทย เช่น

  • สกุล Opuntia เป็นพืชต่างถิ่น ได้แก่ ตาลปัตรฤาษี Opuntia cochenillifera (L.) Mill.  หนามเสมา Opuntia humifusa Raf.
  • สกุล Epiphyllum ได้แก่ โบวตั๋น Epiphyllum oxypetalum (DC.) Haw.
โบวตั๋น
โบวตั๋น ใบสีเขียวเข้ม ดอกสีขาวนวล

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment