ลักษณะประจำวงศ์
ลักษณะวงศ์คล้าเป็นไม้ล้มลุก มีเหง้า ใบเดี่ยว เรียงสลับ มักเรียงสองด้านในระนาบเดียวกัน โคนก้านใบ แผ่กว้างเป็นกาบหุ้มลำ ปลายก้านใบบวมพองเป็นปมตรงบริเวณที่ต่อกับแผ่นใบ ช่อดอกมีทั้ง ช่อเดี่ยวและแยกแขนงออกที่บริเวณโคนต้น เหง้า ปลายยอด ปลายกิ่งและบางครั้งออกเป็น กลุ่มที่ก้านใบ ดอกสมบูรณ์เพศกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ3กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกัน เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์1 อัน ส่วนอันอื่นเปลี่ยนเป็นกลีบปากหรือคล้ายกลีบดอกขนาดใหญ่ รังไข่ 1 อัน อยู่ในฐานดอก มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 1 หน่วย ผลมีทั้งชนิดผลสดและผลแห้งแตก
ลักษณะเด่นประจำวงศ์
วงศ์ของพืชเป็นไม้ล้มลุก โคนก้านใบป่องแผ่ออกเป็นกาบหุ้มลำต้น เส้นกลางใบชัดเจน ดอกสมบูรณ์เพศ มีใบประดับรองรับช่อดอก เกสรเพศผู้เป็นหมัน 1-2 อัน คล้ายกลีบดอก เกสรเพศผู้วงในมี 2 อัน อันที่ 1 เป็นหมกคลุมก้านเกสรเพศเมีย อันที่ 2 คล้ายกลีบปากเนื้อหนานุ่ม และมีเกสรเพศผู้สมบูรณ์ บางทีมีระยางค์ 1 อัน รังไข่ใต้วงกลีบ มี 3 ช่อง
การกระจายพันธุ์
เขตร้อน ทั่วโลกมี 31 สกุล 550 ชนิด ประเทศไทยมี 5 สกุล 14 ชริดและหลายชนิดเป็นพืชต่างถิ่นนำเข้ามาปลูกเป็นไม้ประดับ
- สกุล Calathea ไม้ต่างถิ่น นำมาปลูกประดับ เช่น ว่านนกยูง Calathea veitchiana Veitch. ex Hook.f.
- สกุล Donax นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ได้แค่ คลุ้ม Donax canniformis (G.Forster) K.Schum. ขึ้นในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณหรือริมแหล่งน้ำ
- สกุล Phrynium ได้แก่ ตองเขา Phrynium imbricatum Roxb. พบทั่วไปตามริมน้ำในป่าดิบชื้น
- สกุล Shumannianthus เช่น คล้า Shumannianthus dichotomous (Roxb.) Gagnep ขึ้นกระจายทั่วทุกถาคของประเทศ ตามริมน้ำ หรือป่าพรุ
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.waa.inter.nstda.or.th, www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com
วงศ์คล้า พืชวงศ์นี้ได้แก่ คล้า คล้าแดง คล้าแววมยุรา คล้าน้ำช่อห้อย คลุ้ม รีแรด เป็นต้น