วงศ์ถอบแถบและสกุลถอบแถบ CONNARACEAE

ลักษณะประจำวงศ์

ลักษณะของวงศ์เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง บางทีเป็นไม้พุ่ม หรือไม้ต้นขนาดเล็ก มียางขาวหรือยางใส ใบประกอบแบบขนนกยอดเดี่ยว พบน้อยที่เป็นใบประกอบแบบ 3 ใบหรือใบประกอบแบบใบเดี่ยว ออกเกรียงสลับ ไม่มีหูใบ ดอกออกเป็นช่อแยกคะแนงตามปลายยอดหรือตามง่ามใบ ดอกสมมาตรตามรัศมี สมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงมี 5 อัน  แยกจากกัน หรือควรเชื่อมติดกัน กลีบดอกมี 5 กลีบแยกจากกัน เกสรเพศผู้มี 10 อัน เรียงเป็น 2 วง ก้านเกสรเพศผู้แยกจากกันหรือเชื่อมติดกัน อับเรณูติดที่ฐาน เกสรเพศเมียมี 5 คาร์เพล รังไข่ติดเหนือวงกลีบ แต่ละช่องมี 2 ออวุลติดเคียงกัน การเกสรเมียมี 1 อัน หรือ 2-5 อัน ยอดเกสรเพศเมียมี 2 ถึง 5 ผล แก่แตกแนวเดียว เรียบหรือเป็นตุ่ม มักมีสีแดง มีก้านผล ติดอยู่บนกลีบเลี้ยงติดแน่น เมล็ดมี 1 ขนาดใหญ่ เป็นมันสีน้ำตาลหรือสีดำ มีเนื้อสีเหลืองหรือสีส้ม 

ลักษณะเด่นของวงศ์

วงศ์ของพืชชนิดนี้เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ใบประกอบแบบขนนกยอดเดี่ยว กรีกเอี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ เกสรเพศผู้มี 5-10 อัน เกสรเพศเมียมี 5 คาร์เพล แต่ละช่องมี 2 ออวุลติดเคียงกัน ผลสีแดง เมล็ดดำมัน มีเนื้อหุ้มสีเหลืองหรือสีส้ม 

วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง

  • Leguminosae มีหูใบ ดอกสมมาตรด้านข้าง เป็นแบบดอกถั่ว มี 1 คาร์เพล ออวุลมี 1 ถึงจำนวนมาก ผลเป็นฝักแบบถั่ว เมล็ดมี 1 ถึงจำนวนมาก

การกระจายพันธุ์

พบในเขตร้อน มีมากในทวีปแอฟริกา ในประเทศไทยมี 6 สกุล ในป่าดิบที่ต่ำ ได้แก่

  • สกุล Cnestis เป็นไม้เลื้อย เช่น หงอนไก่  Cnestis palala (Lour.) Merr.
  • สกุล Connarus ดอกออกเป็นช่อแตกแขนงที่ปลายยอด เช่น ถอบแถบ Connarus cochinchinensis (Baill.) Pierre  เป็นไม้พุ่ม ถอบแถบเครือ Connarus semidecandrus Jack เป็นไม้เลื้อย
  • สกุล Rourea เช่น เถาหงอนไก่ Rourea mimosoides (Vahl) Planch. เป็นไม้เลื้อยพบทั่วไปในป่า หมาตายพากราก Rourea minor (Gaertn.) Leenh.  ไม้พุ่ม มะขามเครือ Rourea stenopetala (Griff.) Schellenb. ไม้เลื้อย ผลเรียบ
ผลถอบแถบเครือ
ผลถอบแถบเครือ ผลกว้าง เปลือกบาง มีขน
มะขามเครือ
มะขามเครือ ใบรูปไข่หรือรูปรี ผิวเนื้อใบหนา

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com, www.thai-herbs.thdata.co

One Comment

Add a Comment