ลักษณะประจำวงศ์
วงศ์น้ำใจใคร่ OLACACEAE ลักษณะวงศ์เป็นไม้ต้น ไม้พุ่ม หรือไม้เลื้อย ไม่มีหูใบ ใบ เดี่ยว ติดเวียนสลับ ขอบเรียบ เส้นใบ ออกจากสองข้างของเส้นกลางใบแบบขนนก หรือออกจากจุดเดียวกันที่โคนใบ ดอก สมบูรณ์เพศ สมมาตรตามรัศมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 4-6 กลีบ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน กลีบดอก แยกจากกัน เรียงจรดกันมักมีขนด้านใน เกสรเพศผู้มี 2 เท่าของกลีบดอก ติดตรงข้ามกับกลีบดอก รังไข่มักติดใต้ใบ วงกลีบมี 3-5 ช่อง หรือ 1 ช่องเนื่องจากผนังกั้นไม่สมบูรณ์ไข่อ่อนห้อยลง ผลมีเมล็ดเดียวแข็ง มักล้อมรอบ ด้วยกลีบเลี้ยงที่ขยายใหญ่ขึ้น
ลักษณะเด่นของวงศ์
ใบเดี่ยว ติดเวียนสลับ กลีบดอกแยกจากกัน เกสรเพศผู้มี 2 เท่าของกลีบดอก รังไข่ติดใต้วงกลีบ ผลมีเมล็ดเดียวแข็ง ล้อมรอบด้วยกลีบเลี้ยง
วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง
- Opiliaceae – เกสรเพศผู้มีจำนวนเท่ากับกลีบรวม ไม่มีกลีบเลี้ยง รังไข่ติดเหนือวงกลีบมี 1 ช่อง
- Santalaceae – ไม่มีกลีบดอก รังไข่ติดใต้วงกลีบ ใข่อ่อนติดฐานรังไข่
การกระจายพันธุ์
วงศ์น้ำใจใคร่ OLACACEAE พบในเขตร้อน ในประเทศไทยมีอยู่ ประมาณ 3 สกุล 7 ชนิด เช่น
- น้ำใจใคร่ Olax psittacorum (Willd.) Vahl ไม้เลื้อย
- กระเทียมต้น Scorodocarpus borneensis Becc. ไม้ต้น เมื่อขยี้ส่วนของพืช จะมีกลิ่นกระเทียม พบตามป่าดิบที่ต่ำ
- พุทราทะเล Ximenia americana L. ไม้พุ่มหนามีกลีบดอก มีหนวดด้านใน พบตามป่าชายหาด
- ผักรด Erythropalum scandens Blume ไม้เลื้อย เลื้อยโดยใช้มือเกาะ เส้นใบออกจากจุดเดียวกันที่โคนใบ
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com
วงศ์น้ำใจใคร่ OLACACEAE ได้แก่ต้น น้ำใจใคร่ พุทราทะเล กระเทียมต้น