วงศ์พญารากดำและสกุลพญารากดำ POLYGONACEAE

ลักษณะประจำวงศ์

ลักษณะวงศ์เป็นไม้ล้มลุก บางทีเป็นไม้ต้น ไม้พุ่มหรือไม้น้ำ มีหูใบเล็กหรือไม่มี ใบเดี่ยวออกเรียงสลับตรงข้าม หรือออกรอบข้อคอบเรียบ จักเป็นซี่ฟัน หรือเป็นพู ดอกออกเป็นช่อแยกคะแนงหรือดอกเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ สมมาตรตามรัศมีหรือสมมาตรด้านข้าง สมบูรณ์เพศ ฐานดอกเป็นรูประฆังหรือรูปท่อ มักบานเด่น มีจาน ดอกเป็นต่อมน้ำหวานที่โคนของก้านเกสรเพศเมีย กลีบเลี้ยง 4 กลีบ แยกจากกัน หลุดร่วงง่ายหรือติดแน่น กลีบดอกมี 4 กลีบ สีเหลือง ขาว แดงหรือส้ม แยกจากกัน มีก้านกลีบ เกสรเพศผู้มี 8 อัน เรียงเป็น 2 ชั้นหรือบางทีมี 4 อัน เรียงเป็น 1 ชั้น ติดขอบบนหรือใกล้ขอบ ฐานดอก การเกสรเพศผู้แยกจากกัน อับเรณูติดแบบเคลื่อนไหวได้หรือติดที่โคน แยกตามยาว เกสรเพศเมียมี 1 อัน มี 4 คาร์เพล รังไข่ติดใต้วงกลีบ มี 4 ช่อง บางทีผนังกั้นไม่ชัดที่ฐาน มีหลายออวุล ใน 1 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียมี 1 อัน เล็กเรียว ยอดเกสรเพศเมียมี 1 อัน เป็นตุ่มหรือเป็นพู หรือแตกเป็นส 4 ก้าน ผลแก่แตกระหว่างพู บางทีผลมีเนื้อหลายเมล็ด หรือผลเปลือกแข็ง เมล็ดจำนวนมาก 

ลักษณะเด่นของวงศ์

ไม้ล้มลุก ดอกมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 4 กลีบ บางครั้งพบครั้งละ 2 กลีบ มีฐานดอกส้นหรือยาว เป็นรูประฆังหรือรูปท่อ มีจานดอกเป็นต่อมน้ำหวาน ที่โคนของก้านเกสรเพศเมีย รังไข่ติดใต้วงกลีบ มี 4 ช่อง มีหลายออวุล ในหนึ่งช่อง ก้านเกสรเพศเมียมี 1 อัน ผลแก่แตกระหว่างพู เมล็ดจำนวนมาก

วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง

  • Lythraceae ดอกมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 5  กลีบ กลีบดอกยับย่น เกสรเพศผู้ติดในฐานดอก รังไข่ติดเหนือวงกลีบ

การกระจายพันธุ์

พบในเขตอบอุ่นหรือกึ่งเขตร้อน ในประเทศไทยมี 3 สกุล 

  • สกุล Ludwigia ได้แก่ พญารากดำ Ludwigia octovalvis (Jacq.) P.H. Raven เทียนนา Ludwigia hyssopifolia (G.Don) Excell
  • สกุล Fuchsia เป็นไม้ประดับ ได้แก่ โคมญี่ปุ่น Fuchsia spp.
เทียนนา
เทียนนา ลำต้น มักมี สีม่วงแดง ใบรูปหอก ปลายแหลม

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment