วงศ์มุ่นดอย ELAEOCARPACEAE เป็นไม้เนื้อแข็งใช้ในการก่อสร้าง

ลักษณะประจำวงศ์

วงศ์มุ่นดอย ELAEOCARPACEAE ลักษณะวงศ์เป็นไม้ต้น หรือไม้พุ่ม เป็นไม้เนื้อแข็ง มีหูใบ ใบ เดี่ยว ติดเวียนสลับ ขอบจัก ดอก สมบูรณ์เพศ สมมาตรตามรัศมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 4-5 กลีบ แยกจากกัน กลีบดอกปลายกว้างเป็นชายครุย มีจานฐานดอก ก้านชูอับเรณูติด ที่โคนอับเรณู รังไข่ติดเหนือวงกลีบมี 2-5 ช่อง ไข่อ่อนติดที่แกนผนังรังไข่ ก้านเกสรเพศเมียมี 1 อัน ผลเป็นแบบผลแห้งแตกหรือผลมีเนื้อเมล็ดเดียวแข็ง

ลักษณะเด่นของวงศ์

พืชวงศ์มุ่นดอย ELAEOCARPACEAE เป็นไม้ต้น ใบติดเวียนสลับ ขอบใบจักฟันเลื่อย ช่อดอกเป็นแบบชนิดที่ดอกย่อย มีก้านดอก ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 4-5 กลีบ กลีบดอกเป็นชายครุย เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก

วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง

  • Sterculiaceae และ Tiliaceae –  ก้านชูอับเรณูติดที่ก้านหลังอับเรณู มีขนรูปดาว ช่องอับเรณูเป็นเมือก
  • Simaroubaceae – สกุล Irvingia หูใบจะทิ้งรอยแผลเป็นไว้เมื่อหลุดร่วงไป

การกระจายพันธุ์

วงศ์มุ่นดอย ELAEOCARPACEAE พบในเขตร้อน ในประเทศไทยมี 2  สกุล

  • สกุล Elaeocarpus พบในป่าดิบชื้นตั้งแต่ระดับน้ำทะเลถึงป่าดิบเขา กลีบดอกเป็นชายครุย ใบเมื่อแห้งสีแดง เช่น  เหมือดดอย Elaeocarpus floribundus Blume ผลเมล็ดเดียวแข็ง
  • สกลุ Sloanea ดอกออกเดี่ยวๆ ผลเป็นแบบผลแห้งแตก มีหนาม  ได้แก่ เงาะป่า Sloanea sigun (Blume) K. Schum.
ผลเงาะป่า
ผลเงาะป่า ผลกลม มีหนามคล้ายเงาะ แต่แข็ง ผลสีเขียว

ประโยชน์

สกุล Elaeocarpus เมล็ดกินได้เป็นอาหารของนกและค้างคาว เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง และเป็นไม้ประดับ

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment