ลักษณะประจำวงศ์
วงศ์ย่านตีเมีย วงศ์ของพืช ลักษณะเป็นไม้ต้น ไม้เลื้อยหรือไม้พุ่มอึ่งอาศัย เป็นไม้กึ่งเบียนไม่มีหูใบ ใบเดียวออกเรียงสลับหรือเวียนสลับ บางทีออกตรงข้าม บางทีใบลดรูปเป็นเกร็ด ติดแน่น หรือหลุดร่วง ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบหรือที่ปลายยอด เป็นช่อกระจะ ช่อเชิงลดหรือช่อแตกแขนงดอกเล็ก สมมาตรตามรัศมี ดอกแยกเพศหรือสมบูรณ์เพศ กลีบรวมมี 1 วงปลายแยกเป็น 3-5 พู ติดอยู่บนฐานดอกรูปถ้วยตื้นๆ จานดอกขอบหนาและจะเป็นพู เกสรเพศผู้มี 3-5 อัน ติดตรงข้ามกับพูกลีบรวม อับเรณูมี 2 เซลล์ แตกตามยาวติดที่โคนอับ เกสรเพศเมียเป็นคาร์เพลแยก รังไข่ติดเหนือวงกลีบ หรือใต้วงกลีบมี 1 ช่อง หรือมีช่องที่ไม่สมบูรณ์ 5-12 ช่อง มีออวุล 1-5 ใน 1 ช่อง ติดแบบห้อยลง พลาเซนตาเป็นแบบรอบแกน ก้านเกสรเพศเมียสั้นหรือไม่มี ยอดเกสรเพศเมียเรียบหรือแยกเป็น 4-5 พู ผลแบบมีเนื้อเมล็ดเดียวแข็ง หรือผลที่ชั้นในสุดแข็งเป็นหิน ภายในเมล็ดเดียว (pyrene) เปลือกนอกมักนุ่ม ฐานดอกมักขยายใหญ่ขึ้นมีเนื้อสีสด เมล็ดมี 1 ถึงหลาย
ลักษณะเด่นของวงศ์
ชื่อวงศ์ย่านตีเมีย เป็นพืชกึ่งเบียน บาทีใบลดรูปเป็นเพียงเกล็ด ดอกเล็ก กลีบรวมปลายแยกเป็น 3-5 พู ติดอยู่บนฐานดอกรูปถ้วยตื้นๆ จานดอกขอบหนาและจะเป็นพู เกสรเพศผู้มี 3-5 อัน ติดตรงข้ามกับพูกลีบรวม ผลแบบมีเนื้อเมล็ดเดียวแข็ง ฐานดอกมักขยายใหญ่ขึ้นมีเนื้อสีสด
วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง
- Loranthaceae กลีบรวมเรียงเป็น 2 วง ทั้ง 2 วงคล้ายกัน มี 2-3กลีบหรือแยกเป็นกลีบเลี้ยงและกลีบดอก กลีบดอกแยกหรือเชื่อมติดกันเป็นหลอดและจะแยกออกด้านเดียว
การกระจายพันธุ์
พบกระจายทั่วโลก ขึ้นได้ในหลายพื้นที่ ในดินเลว ป่าพรุ เขาหินปูน ป่าดิบชื้น ตั้งแต่ระดับต่ำถึงระดับสูง 2,000 ม. ในประเทศไทยมี 7 สกุล 13 ชนิด เช่น
- สกุล Scleropyrum เป็นไม้ต้น ได้แก่ มะไฟแรด Scleropyrum wallichianum (Wight & Arn.) Arn.
- สกุล Dendrotrophe เช่น ย่านตีเมีย Dendrotrophe varians (Blume) Miq.
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com
วงศ์ย่านตีเมีย พืชที่พบในสกุลนี้ได้แก่ ย่านตีเมีย มะไฟแรด