ลักษณะประจำวงศ์
วงศ์สายน้ำผึ้ง CAPRIFOLIACEAE ลักษณะวงศ์เป็นไม้พุ่ม บางครั้งพบเป็นไม้เลื้อย มักไม่มีหูใบ ใบเดี่ยวติดตรงข้าม แต่ละคู่ตั้งฉากกัน เส้นใบออกจากสองข้างของเส้นกลางใบแบบขนนก ดอก ออกเป็นช่อแบบกระจุก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกเชื่อมติดกัน เกสรเพศผู้มี 5 อัน รังไข่ติดใต้วงกลีบ มี 2-5 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียมี 1 อัน ยอดเกสรเพศเมียมี จำนวนเท่ากับช่องในรังไข่ แต่ละช่องมีไข่อ่อน 1 หน่วย ผลแบบมีเนื้อ เมล็ดมีหนึ่งถึงหลายเมล็ด หรือเมล็ดแข็งเมล็ดเดียว
ลักษณะเด่นของวงศ์
พืชวงศ์สายน้ำผึ้ง CAPRIFOLIACEAE ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ติดตรงข้ามแต่ละคู่ตั้งฉากกัน กลีบดอกเชื่อมติดกัน ยอดเกสรเพศเมีย มีจำนวนเท่ากับช่องในรังไข่
วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง
- Rubiaceae – มีหูใบร่วมอยู่ระหว่างโคนก้านใบที่ออกตรงข้ามกัน มีผลึกรูปเข็ม (raphides) ขอบใบไม่จักซี่ฟัน
การกระจายพันธุ์
สกุลสายน้ำผึ้งพบทั่วโลก โดยเฉพาะในซีกโลกเหนือ ในประเทศไทยมี 3 สกุล
- สกุล Lonicera ไม้เลื้อย ใบเดี่ยว ดอกออกเป็นคู่ แต่ละคู่มีใบประดับ 2 ใบ และใบประดับย่อยอยู่ 4 ใบ ผลมีเนื้อหลายเมล็ด พบในป่าดิบเขา เช่น สายน้ำผึ้งหลวง Lonicera hildebrandiana Collet & Hemsl
- สกุล Viburnum ไม้พุ่ม หรือไม้ต้น หูใบลดรูปเป็นต่อมน้ำหวาน ใบเดี่ยว ผลมีเมล็ดเดียวแข็ง ส่วนมากพบในป่าดิบเขา ได้แก่ อูน Viburnum sambucinum Blume var. tomentosum Hallier f.
- สกุล Sambucus ใบประกอบแบบขนนกขอบใบจักซี่ฟัน มีหูใบ ได้แก่ สะพ้านก๊น Sambucus javanica Reinw. ex Blume พวงไข่มุก Sambucus simpsonii Rehder
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com
วงศ์สายน้ำผึ้ง CAPRIFOLIACEAE ได้แก่ต้นไม้ที่เป็นไม้ประดับ เช่น ต้นสายน้ำผึ้ง ต้นพวงไข่มุก เป็นต้น