วงศ์เน่าใน AQUIFOLIACEAE พืชที่พบในป่าดิบเขา

ลักษณะประจำวงศ์

วงศ์เน่าใน AQUIFOLIACEAE ลักษณะวงศ์เป็นไม้ต้น หรือไม้พุ่ม ไม่มีหูใบ ใบ เดี่ยว ติดเวียนสลับ เส้นใบออกจากสองข้างของ เส้นกลางใบแบบขนนก ดอก แยกเพศ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 4-9 แยกจากกัน เรียงซ้อนทับกัน เกสรเพศผู้มีลักษณะเหมือนกัน ติดตรงข้าม กับกลีบเลี้ยง ไม่มีจานฐานดอก รังไข่ติดเหนือวงกลีบ ยอดเกสรเพศเมียกว้าง ไม่มีก้าน ผลเมล็ดแข็งมี 3 หลายเมล็ด

ต้นเน่าใน
ต้นเน่าใน ไม้ต้นสูง ใบรูปรี

ลักษณะเด่นของวงศ์

พืชวงศ์เน่าใน AQUIFOLIACEAE  เป็นขอบใบจักซี่ฟันเมื่อแห้งสีออกดำ ด้านล่างมีต่อมสีดำ

วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง

  • Celastraceae – ใบมักออกตรงข้าม
  • Icacinaceae – กลีบดอกเรียงจรดกัน ผลมักมีเมล็ดเดียว
  • Rhamnaceae – มีหูใบ มีฐานดอก เกสรเพศผู้ติดตรงข้ามกับดอก

การกระจายพันธุ์

สกุลเน่าในพบทั่วโลก มักอยู่ในแถวซีกโลกเหนือในประเทศไทยมี 1 สกุล

  • Ilex เป็นไม้พุ่ม หรือไม้ต้นขนาดเล็ก ได้แก่ เน่าใน Ilex umbellulata Loes พบในป่าดิบเขา

ประโยชน์พืช

ในทวีปอเมริกาใต้ มี Ilex ชนิดหนึ่ง คือ Ilex paraquariensis A. St.-Hilaire ใช้ทำชา ในยุโรปใช้ Ilex aquifolium L. เป็นไม้ประดับ

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.qsbg.org

One Comment

Add a Comment