วงศ์กระแจะ OCHNACEAE สกุลของกระแจะ

ลักษณะประจำวงศ์

วงศ์กระแจะ OCHNACEAE ลักษณะวงศ์เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก มีหูใบ ใบเดี่ยว ติดเวียนสลับ ขนเกลี้ยง ขอบใบจักซี่ฟัน ดอกสมบูรณ์เพศ สมมาตรตามรัศมีสีเด่นชัด กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ติดแน่น บิดเวียน ก้านเกสรเพศเมียออกเยื้องจากปลายของรังไข่ ผลมีเนื้อเมล็ดแข็ง

ลักษณะเด่นของวงศ์

วงศ์ของพืชชนิดนี้เป็นไม้ต้น ใบเดี่ยว ดอกมีสีเด่นชัด กลีบเลี้ยงใหญ่และมีสีแดงเมื่อเป็นผล เกสรเพศผู้ส่วนมากพบตั้งแต่ 10 ขึ้นไป ผลเมื่อแก่สีดำ หรือม่วงเข้ม

การกระจายพันธุ์

สกุลวงศ์กระแจะ OCHNACEAE พบในเขตร้อน ในประเทศไทยมี 4 สกุล

  • สกุล Gomphia ไม้พุ่ม ไม้ต้นพบในป่าดิบชื้นที่ต่ำ มีเส้นเรียบขอบใบสองเส้นมี 1 ชนิด คือ หางกวางผู้ Gomphia serrata (Gaertn.) Kanis
  • สกุล Ochna ไม้ต้น พบในป่าที่ต่ำ และป่าดิบเขา มีชนิดเดียวคือ ตาลเหลือง กระแจ หรือช้างน้าว Ochna integerrima (Lour.) Merr.
ดอกหางกวาง
ดอกหางกวาง ดอกสีเหลือง ร่วงง่าย กลีบดอกมี 5 กลีบ
ดอกช้างน้าว
ดอกช้างน้าว ดอกสีเหลือง มี 5–7 กลีบ

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment