ลักษณะประจำวงศ์
วงศ์โคลงเคลง MELASTOMATACEAE ลักษณะวงศ์เป็นไม้พุ่ม ไม้ต้น ไม้ล้มลุก หรือไม้เลื้อย ไม่มีหูใบ ใบเดี่ยวติดตรงข้าม บางทีพบมีหลายใบติดรอบข้อ ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอยางละ 3, 4 หรือ 5 กลีบ แกนอับเรณูยืดยาวหรือเป็นรยางค์อับเรณูแตกโดยมีรูที่ปลาย รังไข่ติดใต้วงกลีบ หรือกึ่งใต้วงกลีบมี 4 หรือ 5 ช่อง ไข่อ่อนจำนวนมากติดที่แกนผนังรังไข่ ผล แห้งแบบแก่แตก หรือผลมีเนื้อหลายเมล็ด
ลักษณะเด่นของวงศ์
ใบเดี่ยวติดตรงข้าม กลีบดอกเด่นชัด รังไข่เชื่อมติดกับฐานดอก มีรยางค์ยื่นออกมาตรงโคนอับเรณู
การกระจายพันธุ์
โคลงเคลง MELASTOMATACEAE พบในเขตร้อน ในประเทศไทยมี 15 สกุล
- สกุล Melastoma ไม้พุ่ม ขึ้นตามที่โล่งแจ้ง เช่น โคลงเคลง Melastoma malabathricum L. subsp. malabathricum L.
- สกุล Osbeckia ไม้พุ่ม ขึ้นตามที่โล่งแจ้ง เช่น โคลงเคลงตัวผู้ Osbeckia cochinchinensis Cogn. เอ็นอ้าขนหรือเฒ่านั่งฮุ่ง Osbeckiastellata Buch.-Ham.ex Ker Gawl.
- สกุล Sonerila ไม้ล้มลุก เช่น แปร้น้ำเงิน Sonerila maculata Roxb. พบตามป่าดิบชื้นบนลานหินที่มีมอสล์
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com
วงศ์โคลงเคลง ได้แก่ ต้นโคลเคลง เอ็นอ้าขน เป็นต้น