ส้มสา ผลรสหวานอมเปรี้ยวรับประทานได้

ส้มสา

ชื่ออื่นๆ : ตุด, เม็ดชุนตัวผู้ (พังงา) ถั่ว, ฤาษีเสก, หว้าโละ (ชัยนาท) ส้มสา, ส้มส้าอินสัมปัดถา (เลย) เส่ข่อโผ่ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) หม่อนอ่อน (เงี้ยว เชียงใหม่) เอี๊ยบ๊วย (จีน)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Bayberry, Box myrtle

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Myrica esculenta Buch.-Ham ex D.Don

ชื่อวงศ์ : MYRICACEAE

ลักษณะของส้มสา

ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 4-10 เมตร เป็นพืชที่ไม่ผลัดใบ มีการแตกกิ่งจำนวนมากหรือลำต้นสั้นและคดงอ เปลือกลำต้นอ่อน สีเทาหรือสีน้ำตาล เปลือกต้นมีรอยแตกตามยาว เปลือกชั้นในสีแดงอมส้ม มีรสขม

ต้นส้มสา
ต้นส้มสา เปลือกลำต้นอ่อน สีเทาหรือสีน้ำตาล

ใบ  แผ่นใบเป็นรูปรี แคบ หรือเป็นรูปหอก ใบอ่อนมีขนสีออกชมพู ใบแก่เหนียว สีเขียวเป็นมัน มีจุดน้ำยางเหนียวกระจายทั่วผิว

ใบส้มสา
ใบส้มสา ใบรูปรีหรือรูปหอก ใบแก่เหนียว สีเขียวเป็นมัน

ดอก ช่อดอกออกที่ซอกใบเป็นช่อเชิงลด ยาว 2-4 ซม. แกนกลางเป็นข้อต่อ ดอกขนาดเล็กมาก เป็นช่อแน่น ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ดอกตัวผู้สีแดง ดอกตัวเมียสีเขียว ออกดอกเดือน มี.ค.-เม.ย.

ดอกส้มสา
ดอกส้มสา ดอกมีขนาดเล็ก ดอกตัวผู้สีแดง ดอกตัวเมียสีเขียว

ผล ผลรูปรีหรือกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2 ซม. ผลมีเนื้อนุ่ม ผิวมีตุ่มเล็กๆ ขรุขระเมื่อสุกมีสีแดง

ผลส้มสา
ผลส้มสา ผลกลม มีเนื้อนุ่ม ผิวมีตุ่มเล็กๆ ขรุขระ

การขยายพันธุ์ของส้มสา

การเพาะเมล็ด, การเพาะจากกิ่งตอน

ส้มสามี 2 ชนิด คือ

  1. ชนิดที่มีดอกสีขาว
  2. ชนิดที่มีดอกสีแดง

ธาตุอาหารหลักที่ส้มสาต้องการ

ประโยชน์ของส้มสา

  • ผลรสหวานอมเปรี้ยวรับประทานได้หรือใช้ทำน้ำผลไม้ได้
  • ในจีนใช้ เปลือกไม้เป็นแหล่งของแทนนินในการฟอกหนัง
  • ไขที่หุ้มผลแยกออกได้โดยการต้ม ใช้ทำเทียนและสบู่
  • ในเปลือกมีสารสีเหลืองจำพวก myrisetin, myricitrin และ glycoside ใช้ทำสีย้อมผ้าโดยย้อมผ้าฝ้ายได้สีเหลืองอมน้ำตาล
  • เปลือก ใช้เบื่อปลา

สรรพคุณทางยาของส้มสา

  • น้ำต้มเปลือกแก้ท้องเสีย หลอดลมอักเสบและลำไส้อักเสบ
  • เปลือกใช้เป็นยาสมาน ป้องกันแผลเน่า รักษาโรคบิด รูมาติก ท้องร่วง

คุณค่าทางโภชนาการของส้มสา

การแปรรูปของส้มสา

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.qsbg.org, www.kaijeaw.com
ภาพประกอบ : www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment