หมันทะเล
ชื่ออื่นๆ : เก้าศรี, สะหลีหลวง, สะหลี, ย่อง, ปู
ต้นกำเนิด : พบในแอฟริกา อินเดีย ไห่หนาน กัมพูชา เวียดนาม ภูมิภาคมาเลเซีย ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิก ในไทยพบทางภาคใต้ ขึ้นตามชายหาดที่เป็นทรายหรือโขดหิน
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cordia subcordata Lam.
ชื่อวงศ์ : BORAGINACEAE
ลักษณะของหมันทะเล
ต้น ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 5-10 เมตร ลำต้นแตกกิ่งต่ำ
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ใบรูปไข่กว้างแกมรูปสามเหลี่ยม ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยวเล็กน้อย ก้านใบยาวเรียว
ดอก ดอกขนาดใหญ่ สีส้ม ออกเป็นช่อสั้นๆ ที่ปลายกิ่ง กลีบดอกติดกันคล้ายรูปแตร ปลายแยกเป็น 5 กลีบ บานตลบไปด้านหลัง เกสรตัวผู้โผล่พ้นปากหลอดกลีบดอกเล็กน้อย
ผล ผลสด รูปรี กลีบเลี้ยงติดที่ผล ผลอ่อนสีเขียวอมเหลือง แก่แล้วเป็นสีขาวอมเหลือง
การขยายพันธุ์ของหมันทะเล
การเพาะเมล็ด
ต้นหมันทะเล พืชหายาก (ในประเทศไทย) เนื่องจากขึ้นบนพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่ไม่ถูกรบกวน พื้นที่ชายหาดที่มีการพัฒนาหรือเปลี่ยนสภาพ จะส่งผลกระทบต่อการแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติของหมันทะเลเป็นอย่างมาก
ธาตุอาหารหลักที่หมันทะเลต้องการ
ประโยชน์ของหมันทะเล
- ปลูกเป็นไม้ประดับ
- เมล็ดรับประทานได้ใช้เป็นอาหารในแอฟริกา
- เนื้อไม้อ่อน ใช้ในงานช่างได้
- เปลือก ใช้ทำปอ
- ใช้ทำหมันตอกยาแนวเรือ
- ของเหลวในผลที่ห่อหุ้มเมล็ด เหนียวมาก ใช้ทำกาว
สรรพคุณของหมันทะเล
คุณค่าทางโภชนาการของหมันทะเล
การแปรรูปหมันทะเล
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.qsbg.org, www.th.wikipedia.org
ภาพประกอบ : www.flickr.com
หมันทะเล ในไทยพบทางภาคใต้ ขึ้นตามชายหาดที่เป็นทรายหรือโขดหิน
ต้นหมันทะเล พืชหายาก (ในประเทศไทย) เนื่องจากขึ้นบนพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่ไม่ถูกรบกวน