เหมือดคนดง เนื้อไม่ใช้ทำสิ่งก่อสร้าง

เหมือดคนดง

ชื่ออื่นๆ : เหมือดคน, เหมือดคนดง (เชียงใหม่) เหมือดคนขาว (เพชรบูรณ์) เหมือดตัวผู้ (ลำปาง) พรมคต (สุราษฎร์ธานี) ไต้ควานช้าง (พังงา) คด (ระนอง)

ต้นกำเนิด : พบขึ้นกระจายในป่าดงดิบ ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้ ที่ระดับความสูง 400-1,600 เมตร

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Helicia formosana Hemsl.

ชื่อวงศ์ : PROTEACEAE

ลักษณะของเหมือดคนดง

ต้น   เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 10-20 เมตร กิ่งก้านไม่มีขน เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล แตกกิ่งก้านสาขามากมาย

ใบ  ใบออกเดี่ยวๆ รูปหอกกลับหรือรูปไข่กลับค่อนข้างยาว ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบสอบ ขนาดของใบกว้าง 4-8 ซม. ยาว 12-24 ซม. ก้านใบยาว 1.5-3 ซม. ขอบจักฟันเลื่อยลึกเป็นซี่แหลม แผ่นใบหนาแข็ง เกลี้ยงเป็นมัน ทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีเขียวนวล มีขนประปรายตามเส้นใบ

ใบเหมือดคนดง
ใบเหมือดคนดง ใบรูปหอกกลับ ขอบจักฟันเลื่อยลึกเป็นซี่แหลม แผ่นใบหนาแข็ง

ดอก  เป็นช่อ ออกตามง่ามใบ ยาว 15-30 ซม. ดอกสีขาวอมเหลือง ผลทรงกลม มีกลิ่นหอม ยาว 12-15 มม. ออกเป็นคู่ ก้านดอกมีขนละเอียดสีแดงติดอยู่ประมาณครึ่งหนึ่งของความยาว กลีบดอกมีขนสีน้ำตาลแดงค่อนข้างหนาแน่น ฐานรองดอกเป็นตุ่มเล็กๆ 4 ตุ่ม รูปไข่ค่อนข้างยาว แยกจากกัน รังไข่ไม่มีขน ออกดอกในช่วงเดือน ธันวาคม-กุมภาพันธ์

ดอกเหมือดคนดง
ดอกเหมือดคนดง ดอกสีขาวอมเหลือง ผลทรงกลม

ผล   ผลทรงกลม ผิวผลเรียบเกลี้ยง ปลายมีติ่งแหลม ขนาด 2-2.5 x 3-4 ซม. ผิวเกลี้ยงหรือมีเกล็ด สีน้ำตาลคลุม เปลือกผลแข็ง มีเมล็ดภายในผลเพียง 1 เมล็ด ติดผลประมาณเดือน มีนาคม-มิถุนายน

ผลเหมือดคนดง
ผลเหมือดคนดง ผลกลม ปลายเป็นติ่งแหลม

การขยายพันธุ์ของเหมือดคนดง

การใช้เมล็ด มักขยายพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติ

ต้นเหมือดคนดง ไม้หวงห้ามประเภท ก

หมายเหตุ  ไม้หวงห้ามประเภท ก ได้แก่ ไม้พะยูง ไม้สัก ไม้กระพี้เขาควาย ไม้ชิงชัน ไม้ยาง เป็นต้น เป็นไม้ที่ห้ามตัดเอง ต้องได้รับอนุญาตกับทางการเสียก่อน ถึงจะดำเนินการได้ ไม่ว่าต้นไม้เหล่านั้น จะขึ้นอยู่ที่ใดในผืนแผ่นดินประเทศไทยก็ตาม หรือปลูกไว้ในบริเวณที่ของตนเอง หรือจะทำอะไร กับไม้ก็ตาม เช่น ตัด ฟัน โค่น เลื่อย ถอน ขุด เป็นต้น ถ้าหากฝ่าฝืนมีความผิด มีโทษจำคุก 1 – 20 ปี และถูกปรับตั้งแต่ 50,000 บาท ถึง 2,000,000 บาท

ธาตุอาหารหลักที่เหมือดคนดงต้องการ

ประโยชน์ของเหมือดคนดง

  • เนื้อไม่ใช้ทำสิ่งก่อสร้างได้
  • ผลเป็นอาหารของสัตว์ป่า
  • ช่อดอกสวยเหมาะปลูกประดับในร่ม

สรรพคุณทางยาของเหมือดคนดง

แก่นและลำต้น ใช้ต้มดื่มแก้กษัย ปวดเมื่อย บำรุงกำลัง

คุณค่าทางโภชนาการของเหมือดคนดง

การแปรรูปของเหมือดคนดง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.qsbg.org, www.justicechannel.org
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment