แมคคาเดเมีย ชื่อวิทยาศาสตร์ วิธีปลูกแมคคาเดเมีย

แมคคาเดเมีย

ชื่ออื่นๆ : แมคคาเดเมีย (macadamia nut) 

ต้นกำเนิด : ประเทศออสเตรเลีย

ชื่อสามัญ : Macadamia nut, Australian bush nut, Bauple nut, Smooth Macadamia nut, Queensland nut

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Macadamia integrifolia Maiden & Betche

ชื่อวงศ์ : PROTEACEAE

ลักษณะของแมคคาเดเมีย

ต้น  เป็นไม้ไม่ผลัดใบ เขียวชอุ่มตลอดปี ลำต้นสูงตั้งตรง เมื่อโตเต็มที่สูงได้ถึง 20 เมตร ทรงพุ่มรูปสามเหลี่ยมคล้ายพีระมิด แผ่ออกกว้าง

ต้นแมคคาเดเมีย
ต้นแมคคาเดเมีย ลำต้นสูง ทรงพุ่มรูปสามเหลี่ยมคล้ายพีระมิด

ใบ  มีลักษณะรูปหอก กลับ ใบแก่สีเขียวเข้ม ขอบใบหยักเล็กน้อย

ใบแมคคาเดเมีย
ใบแมคคาเดเมีย ใบรูปหอกกลับ ขอบใบหยักเล็กน้อย

ดอก ออกดอกเป็นช่อยาว ประมาณ 20-30 เซนติเมตร ดอกมี สีขาวหรือสีชมพูมีกลิ่นหอม ดอกเพศผู้ และดอกเพศเมียจะอยู่บนก้านดอกเดียวกัน โดยดอกเพศผู้บาน ก่อนดอกเพศเมีย ประมาณ 2 วัน ใน 1 ช่อดอก มีดอกประมาณ 300-600 ดอก โดยในแต่ละช่อดอก ติดผลประมาณ 20 ผล

ดอกแมคคาเดเมีย
ดอกแมคคาเดเมีย ดอกสีขาว เป็นช่อยาว มีกลิ่นหอม

ผล ผล มีเปลือกแข็งหนา

ผลแมคดาเดเมีย
ผลแมคดาเดเมีย ผลสีเขียวเข้ม มีเปลือกหนา

ลักษณะเปลือกแมคคาเดเมีย มี 2 ลักษณะ

  1. เปลือกขรุขระ
  2. เปลือกเรียบ มีสีเขียว

มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร เนื้อในมีเปลือกแข็งหุ้มเรียกว่า กะลา ภายในกะลามีเมล็ดเป็นเนื้อแน่นสีขาว

การขยายพันธุ์ของแมคคาเดเมีย

การเสียบยอด ทาบกิ่ง ติดตา

วิธีปลูกแมคคาเดเมีย

การปลูกต้องเว้นระยะ 8*10 เมตร ขนาดหลุมแต่ละต้นควรมีความกว้าง*ยาว*ลึก 1 เมตรเท่ากัน แล้วเทฟอสเฟสก้นหลุม 1.5 กิโลกรัม และนำดินที่คลุกปุ๋ยคอกแล้วเทกลบเมื่อปลูกเสร็จ และรดน้ำให้ชุ่มชื้น การรดน้ำให้รดเพียง 1 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นอย่างต่ำ แต่ในช่วงติดผลแล้วต้องให้น้ำอย่างต่อเนื่อง ช่วงครึ่งปีหลังจากปลูกต้องเริ่มตัดแต่งกิ่งให้เหลือเพียงกิ่งกระโดง 1 กิ่ง หากความสูงกิ่งเกิน 1 เมตรและยังไม่แตกกิ่งเพิ่มให้ตัดตรงยอดเพื่อให้แตกกิ่งเพิ่ม

เมื่อปลูกได้ระยะเวลา 4 ปี แมคคาเดเมียก็จะเริ่มให้ผลผลิตเล็กน้อยประมาณไม่เกิน 3 กิโลกรัม และเมื่ออายุ 10 ปีจะให้ผลผลิตต้นละไม่เกิน 20 กิโลกรัม เมื่ออายุ 20 ปีได้ผลผลิตต้นละไม่เกิน 60 กิโลกรัม และสามารถให้ผลผลิตได้นานมากกว่า 50 ปี

ประเทศไทยจะมีปลูกกันมากทั้งทางภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ และภาคอีสานที่จังหวัดเลย

ธาตุอาหารหลักที่แมคคาเดเมียต้องการ

ประโยชน์ของแมคคาเดเมีย

  • เนื้อในเมล็ด รับประทานได้
  • เมื่อเปรียบเทียบกับถั่วชนิดอื่น ๆ แล้ว เช่น อัลมอนด์และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ แมคาเดเมีย มีไขมันสูงและโปรตีนต่ำแต่มีจำนวนของไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูงที่สุด ซึ่งมีประโยชน์มากมีปริมาณ 22% ของกรดโอเมก้า 7 ซึ่งมีผลทางชีวภาพคล้ายกับไขมันอิ่มตัว
ผลแห้งแมคคาเดเมีย
ผลด้านในรับประทานได้

สรรพคุณทางยาของแมคคาเดเมีย

ในแมคคาเดเมีย ยังประกอบด้วยวิตามินเกลือแร่ต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินอี ไนอะซิน โฟเลต แคลเซียม ฟอสฟอรัส เป็นต้น ขณะเดียวกันก็เป็นแหล่งของกรดไขมันที่ดีต่อร่างกายคือเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ได้แก่ กรดโอเลอิก (Oleic acid) สูง กรดไขมันชนิดนี้ ถ้ารับประทานมากพอหรือประมาณ 1 ฝ่ามือต่อวัน จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้ เนื่องจากผลจากการได้รับกรดไขมันชนิดนี้ จะช่วยลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดได้ทั้งชนิด LDL และค่าคอเลสเตอรอลรวมได้

คุณค่าทางโภชนาการของแมคคาเดเมีย

แม็กคาเดเมีย 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 716 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย

  • คาร์โบไฮเดรต   13.2 กรัม
  • ใยอาหาร    8 กรัม
  • โปรตีน     7.8 กรัม
  • ไขมันรวมทั้งหมด    76.1 กรัม (แบ่งเป็นไขมันอิ่มตัว 11.9 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว 59.3 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง      1.5 กรัม)
  • กรดไขมันโอเมก้า    -3 196 มิลลิกรัม
  • โอเมก้า     -6 1,303 มิลลิกรัม

การแปรรูปของแมคคาเดเมีย

นิยมนำมาเป็นขนมขบเคี้ยวกินเล่นระหว่างวัน ในรูปแบบ แมคคาเดเมียอบเกลือ รสสาหร่าย แมคคาเดเมียอบน้ำผึ้ง เคลือบน้ำตาล หรือปรุงรสต่างๆ และยังสามารถนำมาเป็นวัตถุดิบในการปรุงประกอบอาหารคาวและหวานได้ เช่น คุกกี้ เค้ก รวมถึงการประยุกต์นำมาใส่ในเครื่องดื่มปั่น เช่น กาแฟปั่นใส่แมคคาเดเมีย เป็นต้น

แต่อย่างไรก็ดี ข้อแนะนำเพื่อสุขภาพที่สุดคือควรเลือกรับประทานถั่วแมคคาเดเมียที่ปรุงรสน้อยที่สุด เช่น แมคคาเดเมียอบรสธรรมชาติ เพื่อป้องกันการได้รับเกลือโซเดียมหรือน้ำตาลมากเกินไป

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.thaiheartfound.org, www.plant.forest.go.th, www.th.wikipedia.org, http://blog.arda.or.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment