กระดาด
ชื่ออื่นๆ : กระดาดเขียว, บอนเขียว, กระดาดขาว, โทป้ะ, บอนกาวี, เผือกกะลา, มันโทป้าด
ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อสามัญ : Ear elephant, Giant taro, Ape, Giant alocasia, Pai
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alocasia indica Schott.
ชื่อวงศ์ : ARACEAE
ลักษณะของกระดาด
ต้น ไม้ล้มลุก มีเหง้าทอดไปตามพื้นดิน ลำต้นตั้งตรงและอวบน้ำ มีความสูงได้ถึง 2 ม.
ใบ เป็นใบเดียวรูปหัวใจกว้างแกมรูปไข่ ขนาดใหญ่ประมาณ 40×80 ซม. ปลายใบมนแหลมโคนเว้าลึกเป็นติ่งหู ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเรียบ ก้านใบเรียวยาวอวบน้ำสีเขียวอ่อน
ดอก ออกดอกเป็นช่อ ตามปลายยอด ดอกแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน ช่อดอกเป็นแท่งยาวปลายแหลม ยาว 11-23 เซนติเมตร ก้านช่อดอก ยาว 25-50 เซนติเมตร มีกาบรองดอกสีเหลืองอมเขียวหุ้มอยู่ โคนกาบโอบรอบโคนช่อดอก ดอกเพศผู้อยู่บริเวณส่วนบน ดอกเพศเมียอยู่บริเวณโคนช่อ
ผล กลม เป็นกระจุก ไม่มีก้านผล ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีส้มแดง

การขยายพันธุ์ของกระดาด
การเพาะเมล็ด, การแยกกอ
ธาตุอาหารหลักที่กระดาดต้องการ
ประโยชน์ของกระดาด
- ผลใช้เป็นอาหารสัตว์ เหง้าสะสมอาหาร ใช้ผลิตแป้งสีขาว ย่อยง่าย
- ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ
- ปลูกเป็นไม้กระถาง
ส่วนที่เป็นพิษ น้ำยาง
การเกิดพิษ หากสัมผัสน้ำยางจะมีอาการคัน ปวดแสบปวดร้อน ต่อมาจะอักเสบบวมและพองเป็นตุ่มน้ำใส ถ้ากินพืชนี้จะทำให้เสียงแหบ น้ำลายไหล อาเจียน แสบร้อนบริเวณที่สัมผัส เพดานบวมพอง อาจพองเป็นตุ่มน้ำใส บางรายทำให้พูดลำบากและไม่มีเสียง บางรายอาจมีอาการกลืนลำบาก
การรักษา
1. หากสัมผัสให้ล้างยางออกโดยใช้น้ำชะล้างหลาย ๆ ครั้ง แล้วทาด้วยครีมสเตียรอยด์ หากอาการรุนแรง ควรนำส่งโรงพยาบาล
2. หากยางเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำหลายๆ ครั้ง แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล

สรรพคุณทางยาของกระดาด
- เหง้า ใช้เป็นยาระบายและขับปัสสาวะ
- ลำต้น ต้มรับประทานเป็นยาระบาย

คุณค่าทางโภชนาการของกระดาด
การแปรรูปของกระดาด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9254&SystemType=BEDO
http://clgc.agri.kps.ku.ac.th
http://webdb.dmsc.moph.go.th
https://www.flickr.com