ต้นกระเช้าถุงทอง
ชื่ออื่นๆ : กระเช้าถุงทอง, กระเช้าพรรคมาร
ต้นกำเนิด : ประเทศอินโดจีน
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aristolochia pothieri Pierre ex Lecomte.
ชื่อวงศ์ : ARISTOLOCHIACEAE
ลักษณะของกระเช้าถุงทอง
ต้น เป็นไม้เถาล้มลุก ทอดเลื้อยไปตามพื้นและเกี่ยวต้นไม้อื่น ลำต้น มีขนละเอียด

ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่กว้างหรือแยกเป็น 3 แฉกแฉกยาวไม่ถึงกึ่งหนึ่งของความยาวใบใบยาว 11-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม หรือมน ปลายแฉกด้านข้างมน โคนใบรูปหัวใจตื้นๆแผ่นใบมีขนและต่อมทั้งสองด้าน เส้นโคนใบ 3 เส้นก้านใบยาว 5-5.2 เซนติเมตร มีขนละเอียด

ดอก ดอกออกเป็นช่อกระจะแบบแยกแขนงสั้นๆออกตามซอกใบยาวได้ประมาณ 6 เซนติเมตร ดอกค่อนข้างหนาแน่นใบประดับรูปไข่ ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 0.6-0.7 เซนติเมตร ดอกสีครีมอ่อนอมสีเขียวด้านนอกและภายในหลอดกลีบ สีน้ำตาลแดง ด้านในกลีบปากหลอดกลีบรูปทรงกระบอกแคบๆ ยาว 0.8-1.6 เซนติเมตร งอขึ้นเล็กน้อยปลายกลีบบานออกรูปขอบขนาน รูปใบหอกหรือรูปใบพาย ปลายมน ยาว 1.3-1.8 เซนติเมตร โคนหลอดกลีบเป็นกระเปาะรูปไข่หรือเกือบกลม ยาว 0.4-0.8 เซนติเมตร เกสรเพศผู้มี 6 อัน แนบติดก้านเกสรเพศเมียเป็นเส้าเกสรยาวประมาณ 0.2 เซนติเมตร รังไข่ติดใต้วงกลีบมี 6 ช่องยอดเกสรเพศเมียรูปกรวยมี 6 แฉก

ผล ผลแห้งแล้วแตกรูปไข่กว้าง มี 6 สัน ยาว 4-4.5 เซนติเมตร แห้งแล้วแตกโคนก้านและปลายผลติดกันคล้ายกระเช้า ก้านผลยาว 3-6 เซนติเมตร เมล็ดรูปสามเหลี่ยมหัวใจ ยาว 7-0.8 เซนติเมตร บาง มีปีก สีน้ำตาล ด้านหนึ่งเป็นตุ่ม
การขยายพันธุ์ของกระเช้าถุงทอง
การใช้เหง้า
ปลูกบนดินร่วน ในที่ที่มีแสงแดดจัดถึงรำไร
ธาตุอาหารหลักที่กระเช้าถุงทองต้องการ
ประโยชน์ของกระเช้าถุงทอง
ปลูกเป็นไม้เลื้อยประดับ
สรรพคุณทางยาของกระเช้าถุงทอง
- หัวใต้ดิน ทำให้ระดูมาตามปกติ บำรุงร่างกาย
- ใบ ตำเป็นยาพอกภายนอก เช่นพอกศีรษะลดไข้ พอกแก้โรคผิวหนังบางชนิด หรือนำใบมาเผาไฟให้ร้อนแล้ววางนาบบนท้องหรือแขนขาที่บวม แก้อาการบวม
ในกระเช้าถุงทองมีกรดอะริสโตโลคิก ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งและเป็นพิษต่อไต
คุณค่าทางโภชนาการของกระเช้าถุงทอง
การแปรรูปของกระเช้าถุงทอง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.arit.kpru.ac.th, www.th.wikipedia.org
ภาพประกอบ : www.flickr.com
กระเช้าถุงทองมีกรดอะริสโตโลคิก ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งและเป็นพิษต่อไต
กระเช้าถุงทองปลูกเป็นไม้เลื้อยประดับ