กระเช้าผีมด
ชื่ออื่นๆ : กระเช้ามดกลาง, กระเช้ามด (ภาคกลาง)
ต้นกำเนิด : พบตามป่าเบญจพรรณทั่วไป
ชื่อสามัญ : Indian Birthwort
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aristolochia tagala Cham
ชื่อวงศ์ : ARISTOLOCHIACEAE
ลักษณะของกระเช้าผีมด
ต้น ไม้เถาลำต้นพาดต้นไม้อื่นยาวประมาณ 10 เมตร เป็นร่องไม่มีขน
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหอกแกมรูปไข่ กว้าง 5.5-13 เซนติเมตร ยาว 7.5 – 17.5 เซนติเมตร โคนใบเว้ารูปหัวใจ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบ ทั้งสองด้าน
ดอก เป็นดอกช่อสั้น ออกตามใบซอกใบ ช่อละ 1-2 ดอก มีกลิ่นเหม็น มีใบประดับ รูปขอบขนาน ขนาดเล็ก กลีบดอกชั้นเดียว ยาว 5-6 เซนติเมตร เชื่อมติดกันเป็นท่อ โคนท่อป่องเป็นกระเปาะลม ท่อโค้ง ปากท่อเบี้ยวและยื่นยาวไปข้างหนึ่ง ปลายมน มีขน
ผล ค่อนข้างกลม รูปไข่ หรือรูปขอบขนานแกมรี กว้าง 2.7-4.3 ซม. ยาว 3.3-5.5 ซม. ก้านผลยาว3.3-5.8 ซม ผลแก่จะแตกตามยาวจากขั้วไปยังโคน และก้านผลก็แตกแยกออกเป็น 6 เส้น โดยที่โคนก้านและปลายผลยังติดกันอยู่ รูปร่างคล้ายกระเช้า
เมล็ด รูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม ขนาดกว้าง 0.5-1 เซนติเมตร มีปีกแบนผิวด้านหนึ่งเป็นตุ่มเล็กๆ

การขยายพันธุ์ของกระเช้าผีมด
เพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่กระเช้าผีมดต้องการ
ประโยชน์ของกระเช้าผีมด
ยอดอ่อนและใบอ่อน ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกง หรือนำไปลวกกินกับน้ำพริก(คนเมือง)
สรรพคุณทางยาของกระเช้าผีมด
- ต้นใช้กินเป็นยาทำให้ธาตุปกติ
- ใบใช้ตำเป็นยาพอกภายนอก เช่น พอกศีรษะลดไข้ พอกแก้โรคผิวหนัง เผาใบให้ร้อนวางนาบไว้บนท้องหรือตามแขนขาที่บวม ใช้แก้อาการปวดบวม
- เมล็ดใช้เป็นยาแก้คออักเสบ เป็นไข้

คุณค่าทางโภชนาการของกระเช้าผีมด
การแปรรูปของกระเช้าผีมด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11703&SystemType=BEDO
www.flickr.com