วัสดุอุปกรณ์และการเลี้ยง
วัสดุ
- บ่อซีเมนต์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตรราคาไม่สูง มีความคงทน ประหยัดพื้นที่ สามารถป้องกันกำจัดโรคและศัตรูได้ง่าย และที่สำคัญง่ายต่อการจัดการ
- เทปกาวใช้ติดภายในกล่องรอบขอบด้านบน ป้องกันจิ้งหรีดไต่ออกจากบ่อเลี้ยง ติดให้ต่ำ
- ตาข่ายไนล่อนใช้คลุมด้านบนกล่อง ป้องกันจิ้งหรีดบินหนีและป้องกันศัตรู เช่น นก จิ้งจก จิ้งเหลน และหนู เข้ามากินจิ้งหรีด โดยตัดให้มีความยาวกว่าขนาดกล่อง 30-40 เซนติเมตรกว่าขอบกล่องประมาณ 1 นิ้ว ชนิดผิวนอกลื่น กว้าง 1.5-2 นิ้ว
- ยางรัดขอบบ่อ รัดตาข่ายกับขอบกล่องนิยมใช้ยางในรถจักรยานยนต์
- วัสดุหลบซ่อนใช้แผงกระดาษวางไข่ไก่เป็นที่หลบซ่อนตัวของจิ้งหรีดในเวลากลางวัน
- ภาชนะใส่น้้าเพื่อให้จิ้งหรีดขึ้นไปกินน้ าได้สะดวกใช้ภาชนะที่ไม่ลึกมาก
- ภาชนะใส่อาหารลักษณะแบนและมีปากกว้าง ผิวหยาบ เพื่อความสะดวกของจิ้งหรีด
- ภาชนะวางไข่ให้จิ้งหรีดวางไข่หลังผสมพันธุ์แล้ว ใช้กระป๋องน้ ามันพลาสติก เพราะสะดวกในการใช้และขนย้าย
- ทรายนำมาเป็นวัสดุสำหรับให้จิ้งหรีดวางไข่
- อาหารจิ้งหรีด
10.1 อาหารหลัก ได้แก่ พืชต่างๆ วัชพืช ที่มีลำต้น ใบลักษณะอ่อน เช่น ผักบุ้ง ฟักทอง ต้นอ่อนและยอดอ่อนของพืชหรือหญ้าสดทุกชนิด หญ้าขน หญ้าลูซี่ ผักตบชวา ใช้เลี้ยงจิ้งหรีดเจริญเติบโตเร็วและให้ผลผลิตสูง โดย 2 วัน ให้หญ้า 1 ครั้งๆ ละ 1 กำมือโดยหญ้าเก่าไม่ต้องนำออก จะเป็นที่อาศัยของจิ้งหรีดต่อไป
10.2 อาหารเสริม ใช้ อาหารสำหรับลูกไก่ จิ้งหรีด 1 บ่อ ใช้อาหาร 3กก./รุ่น ราคาประมาณ 15 บาท/กก. อาหารเสริมควรให้ในปริมาณที่กินหมดภายใน 2 วัน

วิธีการเลี้ยง
- สถานที่
– อากาศมีการระบายและถ่ายเทได้ดี มีแสงแดดอ่อนๆ ส่องถึง
-ไม่เป็นแหล่งของโรคระบาด และปลอดจากศัตรู
-ควรมีแหล่งพืชอาหารธรรมชาติที่หาได้ง่าย
-ห่างไกลจากการใช้สารเคมี
-หากเป็นไปได้ควรเป็นแหล่งที่มีความต้องการบริโภค - โรงเรือน
รูปแบบของโรงเรือนที่ใช้เพาะเลี้ยงจิ้งหรีด ส่วนใหญ่จะเป็นการดัดแปลงจากสิ่งที่มีอยู่ เช่น บริเวณบ้าน ใต้ถุนบ้าน ชายคาบ้าน โรงรถ คอกสัตว์ หรืออาจเป็นการสร้างโรงเรือนส าหรับเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดขึ้นมาโดยเฉพาะ มีข้อคำนึงคือ สามารถระบายความร้อนและป้องกันฝนได้ดี รอบโรงเรือนท าร่องน้ าป้องกันแมลงรบกวน - การวางบ่อเลี้ยงจิ้งหรีด
ทำความสะอาดรอบบริเวณที่เลี้ยงก่อน เพื่อท าลายแหล่งอาศัยของศัตรูจิ้งหรีด จากนั้นวางเรียงกล่องเลี้ยงเป็นแถว โดยมีระยะห่างกันพอที่ผู้ดูแลจะปฏิบัติงานได้สะดวก ไม่ควรจะวางห่างกันมากเพราะจะท าให้สิ้นเปลืองพื้นที่ - การจัดการภายในบ่อเลี้ยง
-ทำความสะอาดบ่อเลี้ยง หากพบการชำรุดให้ทำการซ่อมแซม
-ติดเทปกาวโดยรอบให้แนบสนิท เว้นระยะห่างจากขอบกล่อง 1 นิ้ว
-วางแผงไข่ (วัสดุหลบภัย) ตามรูปแบบที่เหมาะสม
-นำกระป๋องไข่จิ้งหรีดลงวางเรียงในกล่องเลี้ยงโดยมีแผ่นพลาสติกคลุมไว้เพื่อรักษาความชื้นและอุณหภูมิ
-นำตาข่ายไนล่อนคลุมปากกล่องแล้วรัดด้วยยางรัด
-หลังจากไข่จิ้งหรีดฟักออกเป็นตัวแล้วใส่ถาดอาหารและถาดน้ำ - การให้อาหารและน้ำ
ต้องให้อาหารและน้ำทุกวันสม่ำเสมอ ในปริมาณที่พอดี จิ้งหรีดสามารถกินหมดได้วันต่อวัน และควรมีการทำความสะอาดภาชนะใส่อาหารและน้ำทุกครั้งที่มีการให้อาหารและน้ำ - การเตรียมที่วางไข่ส้าหรับจิ้งหรีด
เมื่อจิ้งหรีดเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยแล้วมีการผสมพันธุ์ จากนั้นประมาณ 7 วัน จึงนำที่สำหรับวางไข่ไปวางไว้ภายในบ่อเลี้ยง เพื่อให้จิ้งหรีดวางไข่โดยนำทรายใส่ถุงพลาสติกปิดปากถุงนำไปตากแดด 2-3 แดด เพื่อฆ่าเชื้อโรคและศัตรูที่ติดมากับวัสดุ หลังจากนั้นนำมาเปิดปากถุง เพื่อระบายความร้อน เติมน้ำและคลุกให้ชุ่มชื้นอย่างทั่วถึง ก่อนจะเทใส่ขันพลาสติกและนำไปใส่ในบ่อเลี้ยง หากพบว่าวัสดุมีความชื้นน้อยควรฉีดพ่นน้ำ
ข้อควรระวัง อย่าให้วัสดุมีความชื้นมากเกินไป เพราะอาจทำให้ไข่จิ้งหรีดเสียหายได้ - การจับจิ้งหรีดเพื่อจำหน่าย
เมื่อจิ้งหรีดอายุประมาณ 45วัน ขึ้นไป จิ้งหรีดจะโตพร้อมที่จะจับได้ โดยใช้วิธียกแผงไข่ขึ้นมาเคาะตัวจิ้งหรีดใส่ในถังหรือกะละมังที่จัดเตรียมไว้แล้วนำไปล้างน้ าให้สะอาดก่อนจับจิ้งหรีดต้องงดให้อาหารเสริม1 วันให้เฉพาะพืชและน้ำเท่านั้นเพื่อไม่ให้จิ้งหรีดมีกลิ่นของอาหารติด

เทคนิคการเลี้ยงจิ้งหรีดในฤดูกาลต่างๆ
- การเลี้ยงจิ้งหรีดในช่วงฤดูฝน
จิ้งหรีดจะเจริญเติบโตได้ดี กินอาหารเก่ง แม่พันธุ์วางไข่ได้ดี แต่จะต้องควบคุมปัจจัยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคของจิ้งหรีดด้วย ผู้เลี้ยงควรปฏิบัติดังนี้
-ที่หลบซ่อนควรจัดให้โปร่ง และเปลี่ยนที่หลบซ่อนหากพบว่ามีความชื้นมาก-การให้น้ำช่วงฤดูฝนความชื้นในอากาศมีมาก น้้ำที่ให้จิ้งหรีดจะไม่ค่อยแห้ง จะต้องเปลี่ยนน้ำทุกครั้งที่ตรวจเช็ค ข้อควรระวังถ้าเป็นจิ้งหรีดเล็ก ให้น้ำชุ่มอย่าให้น้ำขังเพราะลูกจิ้งหรีดอาจจมน้ำตายได้
-การทำความสะอาดบ่อเลี้ยง ช่วงฤดูฝนจิ้งหรีดจะกินอาหารปริมาณเยอะในขณะเดียวกันก็จะถ่ายมูลจ านวนมากเช่นกัน ควรมีการเก็บมูลจิ้งหรีดเดือนละ 2 ครั้ง - การเลี้ยงจิ้งหรีดในช่วงฤดูหนาว
จิ้งหรีดจะเจริญเติบโตได้ช้า กินอาหารน้อย แม่พันธุ์วางไข่ไม่ดีผู้เลี้ยงควรปฏิบัติดังนี้
-จัดที่หลบซ่อนของจิ้งหรีดให้ทึบเพื่อป้องกันอากาศที่เย็น เพราะจะทำให้ลูกจิ้งหรีดตายได้ โดยไม่ต้องน าผักหรือหญ้าที่แห้งแล้วออก
-การให้น้ำ ในฤดูหนาวอากาศมีความชื้นน้อย น้ำจะระเหยได้ไว้ ควรให้น้ำทุกวัน อาจนำวัสดุที่ดูดซับน้ำได้ใส่ในถาดน้ำด้วยเพื่อให้น้ำระเหยช้าลง ข้อควรระวังถ้าเป็นจิ้งหรีดเล็กให้น้ าพอชุ่ม ทำความสะอาดภาชนะใส่น้ำทุกครั้งก่อนใส่น้ำใหม่
-การทำความสะอาด ควรทำเดือนละ 1 ครั้งเพราะจิ้งหรีดจะกินอาหารน้อยลง มีการถ่ายมูลน้อย - การเลี้ยงจิ้งหรีดในช่วงฤดูร้อน
จิ้งหรีดจะเจริญเติบโตได้ดี กินอาหารเก่ง แม่พันธุ์วางไข่ได้ดี แต่การเลี้ยงจิ้งหรีดในฤดูนี้มีข้อควรระวังหลายอย่าง ผู้เลี้ยงควรปฏิบัติดังนี้
-ควรจัดที่หลบซ่อนของจิ้งหรีดให้มีมากพอและจัดให้โปร่ง ถ้าอากาศร้อนมากควรมีการสเปรย์น้้ำให้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ
-การให้น้ำ ช่วงฤดูร้อนน้ำจะระเหยได้ไว ควรให้น้ำทุกวัน อาจนำวัสดุที่ดูดซับน้ำได้ใส่ในถาดน้ำด้วยเพื่อให้น้ำระเหยช้าลง ข้อควรระวังถ้าเป็นจิ้งหรีดเล็กให้น้ำพอชุ่ม ทำความสะอาดภาชนะใส่น้ำทุกครั้งก่อนใส่น้ำใหม่
-การทำความสะอาดบ่อเลี้ยง ช่วงฤดูร้อนจิ้งหรีดจะกินอาหารปริมาณเยอะในขณะเดียวกันก็จะถ่ายมูลจำนวนมากเช่นกัน ควรมีการเก็บมูลจิ้งหรีดเดือนละ 2 ครั้ง

ต้นทุน ค่าอาหารเสริม และวัสดุต่างๆ ปีละ 16,800 บาท
รายได้ รายได้เฉลี่ยจากการจิ้งหรีดปีละ 77,660 บาท
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.nan.doae.go.th
https://www.flickr.com