ขมิ้นต้น
ชื่ออื่นๆ : ขมิ้นต้น (ภาคอีสาน)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : ขมิ้นต้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mahonia siamensis Takeda
ชื่อวงศ์ : BERBERIDACEAE
ลักษณะของขมิ้นต้น
ต้น เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 4 เมตร เนื้อไม้มีสีเหลือง เปลือกต้นแตกเป็นร่อง
ใบ เป็นใบประกอบยาว 20-70 เซนติเมตร ใบย่อยมี 4-9 คู่ รูปขอบขนานแกมรูปไข่หรือรูปใบหอก ยาว 4-15 เซนติเมตร โคนใบกลม เบี้ยว ขอบจักซี่ฟันห่าง ๆ ปลายจักแหลมคล้ายหนาม
ดอก ดอกออกเป็นช่อแบบกระจะที่ปลายกิ่ง มีหลายช่อ ยาวได้ถึง 30 เซนติเมตร ใบประดับรูปใบหอกยาว 2-3.5 เซนติเมตร ดอกสีเหลือง ก้านดอกยาว 3-6 มิลลิเมตร ใบประดับย่อยยาว 3-7 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงคล้ายกลีบดอก มี 9 กลีบ เรียง 3 วง วงนอกสั้นกว่าวงใน วงในยาวได้ถึง 8 มิลลิเมตร กลีบดอก 6 กลีบ รูปรีปลายมนยาว 5-8 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้มี 6 อัน ยาว 3.5-5.5 มิลลิเมตร ติดตรงข้ามกลีบดอก อับเรณูมีรยางค์ ก้านเกสรเพศเมียยาว 2-3 มิลลิเมตร
ผล ผลสดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-8 มิลลิเมตร เมื่อสุกมีสีม่วงเข้ม ภายในมี 4-7 เมล็ด


การขยายพันธุ์ของขมิ้นต้น
ใช้หัว/เหง้า/หน่อ
ธาตุอาหารหลักที่ขมิ้นต้นต้องการ
ประโยชน์ของขมิ้นต้น
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
สรรพคุณทางยาของขมิ้นต้น
- แก่น เป็นยาแก้ท้องร่วง
- ราก แก้โรคทางผิวหนัง แก้โรคตา ลดไข้ แก้แก้ดีไม่ปกติ
- ราก-เหง้า เป็นยาเจริญอาหาร
- เปลือกต้น ใช้รักษาโรคไข้ดำแดงและท้องเสีย ช่วยให้เจริญอาหาร

คุณค่าทางโภชนาการของขมิ้นต้น
การแปรรูปของขมิ้นต้น
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10548&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com