ขัดมอญ
ชื่ออื่นๆ : หญ้าขัดใบยาว คัดมอน หญ้าข้อ หญ้าไม้กวาด
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : หญ้าขัดมอญ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sida acuta Burm F.
ชื่อวงศ์ : Malvaceae
ลักษณะของขัดมอญ
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 0.3-1 เมตร ลำต้นแข็งแรง เปลือกต้นมีใยเหนียวดีมาก เป็นลักษณะพิเศษของต้นไม้ในวงศ์พวกชบานี้อย่างหนึ่ง ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก
ใบ ออกสลับกัน มีขนสั้นๆ หรือเกือบจะไม่มีขน ปลายใบแหลม ใบยาว 3-5 เซนติเมตร กว้าง 0.5-1.5 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลมออกไป ฐานใบกว้างเล็กน้อย มนเข้าขอบใบมีรอยหยักเป็นซี่คล้ายฟัน ด้านบนไม่มีขนสีเขียว ด้านล่างสีเขียวอ่อนกว่า มีก้านใบ
ดอก ออกจากซอกข้างใบ อาจออกเป็นดอกเดี่ยวหรือมีหลายดอกเกิดที่เดียวกัน มีก้านดอก มีกลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 5 กลีบ แต่ละกลีบเป็นรูปสามเหลี่ยมแหลมสั้นสีเขียว กลีบดอกมี 5 กลีบ ติดกันที่โคนมีสีเหลือง ใหญ่กว่ากลีบเลี้ยงประมาณ 2 เท่า มีเกสรตัวผู้อยู่มาก มีก้านเกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่มีผนังกั้นแยกเป็น 5-9 ห้อง อยู่ในกลีบเลี้ยง เมื่อเป็น

การขยายพันธุ์ของขัดมอญ
ใช้เมล็ด/ผลแก่เป็นรูปทรงจานกลมแบนมีรอยแยก 5-9 ซีก เป็นเมล็ดสีดำ มักพบขึ้นเองตามที่รกร้างต่างๆ ในที่แห้งแล้งก็ขึ้นได้ ตามริมถนนหนทางต่างๆ ก็พบได้
ธาตุอาหารหลักที่ขัดมอญต้องการ
ประโยชน์ของขัดมอญ
หญ้าขัดมอญเป็นพืชตระกูลชบา ชาวบ้านสมัยก่อนนิยมตัดมาตากแห้ง ปล่อยให้ใบหลุดร่วงแล้วเอามัดรวมกันสัก 2-3 ต้นพอเหมาะมือ ใช้เป็นไม้กวาดทำความสะอาดบ้านเรือน เรียกกันว่าไม้กวาดขัดมอญ
ลำต้นของหญ้าขัดมอญมีความเหนียวดีมากไม่เปราะหัก จึงเหมาะกับการใช้กวาดลานบ้านได้อย่างดี แต่ต้นไม้ที่เรียกกันว่าหญ้านี้ชาวบ้านยังนิยมใช้เป็นยาได้หลายชนิด อาจพูดได้ว่าเป็นยาปัดเป่าโรคภัยที่ดีชนิดหนึ่ง เช่น มีบางคนนำมาต้มกินเพื่อรักษาโรคความดันโลหิต โดยอาจจะต้มกินเดี่ยวๆ หรือต้มรวมกับรากหญ้าคา ซึ่งสมุนไพรหญ้าขัดมอญกับหญ้าคานี้ นับถือกันเป็นฝาแฝดคู่กันเสมอ เพื่อใช้เป็นยาขับปัสสาวะและลดความดันโลหิต
สรรพคุณทางยาของขัดมอญ
สรรพคุณ
ทั้งต้น รสเย็น ฉุนเล็กน้อย ใช้ดับร้อน แก้พิษ แก้บวม แก้ปวด สมานเนื้อ แก้กวัด เต้านมอักเสบ บิด ลำไส้อักเสบ หกล้มกระดูกหัก แผลบวมเป็นพิษ เลือดออก
วิธีและปริมาณที่ใช้
ทั้งต้น แห้งหนัก 15-30 กรัม ต้มน้ำกิน ใช้ภายนอก ใช้ต้นสดตำ พอก หรือต้นแห้งบดเป็นผงโรย
ตำรับยา
แก้เต้านมอักเสบ ใช้ต้นแห้งร่วมกับ โพกงเอ็ง (Tara xacum mongolicum Hand-Mazz) ต้มน้ำกิน ใช้ภายนอก และใช้ต้นแห้งร่วมกับหัวผักกาดขาวสด น้ำตาลแดง ตำพอกใช้ภายนอก
ผลทางเภสัชวิทยา
น้ำสกัดจากต้น ทำให้ชีพจรเต้นช้าลง ลดความโลหิตของกระต่ายที่ทำให้สลบแล้วก่อนลดลง ลดการเต้นของหัวใจกบที่แยกออกมาจากตัว และที่อยู่ในลำไส้ มีผลกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้เล็กของกระต่ายที่อยู่ในตัวให้บีบตัวเพิ่มขึ้น เมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ถ้าฉีดน้ำสกัดของต้นนี้ เข้าช่องท้องของหนูเล็กขนาด 12.5-50 กรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักตัว ภายใน 24 ชั่วโมง หนูยังไม่ตาย แต่ถ้าให้มากเกินกว่านี้หนูเล็ก 5 ตัวที่ฉีดจะตาย 1 ตัว
ใบอังไฟพอสุก ทาน้ำมันเอามาปิดฝี ทำให้ฝีหัวแก่เร็วขึ้น (กลัดหนองเร็วขึ้น) นอกจากนี้ใบพืชนี้ยังใช้ทำให้แท้งลูกได้
รากใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร เป็นยาเย็น ฝาดสมาน บำรุงธาตุ ขับเหงื่อและแก้ไข้ ใช้ในโรคประสาท อาการไข้ผิดปกติต่างๆ โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ โรคเรื้อรังเกี่ยวกับท้อง และแก้อ่อนเพลีย โดยใช้รากต้นนี้ผสมกับขิงต้มน้ำดื่มวันละ 2 ครั้งๆ ละขนาด 1 ถ้วยชาเล็กๆ
ในชนบทเมื่อต้นนี้เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ต้นสูงประมาณเมตรกว่าๆ เขาตัดมาตากให้แห้ง ใบจะหลุดร่วงหมดแล้วเอา 2-3 ต้น มามัดเป็นกำรวมกัน ใช้กวาดลานบ้านให้สะอาดได้ดีเรียกว่า ไม้กวาดขัดมอญเพราะต้นนี้มีลำต้นเหนียวแข็งแรงดี
คุณค่าทางโภชนาการของขัดมอญ
การแปรรูปของขัดมอญ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10552&SystemType=BEDO
หญ้าขัดมอญ