ข่า
ชื่ออื่นๆ : ข่าหยอก , ข่าหลวง , กฎกกโรทินี , เสะเออเคย
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Galanga
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alpinia galanga (L.) Willd.
ชื่อวงศ์ : Zingiberaceae
ลักษณะของข่า
ไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตร เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ดอก ช่อ ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผลเป็นผลแห้งแตกได้ รูปกลม

การขยายพันธุ์ของข่า
ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/-
ปลูกในดินร่วนซุย หมาะนการปลูกหน้าฝน
ธาตุอาหารหลักที่ข่าต้องการ
ประโยชน์ของข่า
ใช้ปรุงอาหารดับกลิ่นคาว ดอกและลำต้นใช้รับประทานเป็นผักสดได้

สรรพคุณทางยาของข่า
เหง้าสดมีน้ำมันหอมระเหย (Volatile oil) ซึ่งประกอบด้วยสารเมททิล-ซินนาเมต (Methyl-cinnamate) ซีนิออล (Cineol)การบูร (Camphor) และยูจีนอล (Eugenol)
เหง้านำมาต้มกินแก้ท้องร่วง ท้องบิด ลดอาการอักเสบ ลดแผลในกระเพาะ และใช้ในการไล่แมลง โดยนำเหง้ามาทุบหรือตำให้ละเอียดแล้วไปว่างในที่ที่มีแมลง

คุณค่าทางโภชนาการของข่า
การแปรรูปของข่า
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9974&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com