คอร์เดีย
ชื่ออื่นๆ : หมันแดง
ต้นกำเนิด : อเมริกาเขตร้อน
ชื่อสามัญ : Cordia, Geiger tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cordia sebestena L.
ชื่อวงศ์ : Cordiaceae
ลักษณะของคอร์เดีย
ต้น ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูงได้เกือบ 10 เมตร ลำต้นเดี่ยว ตั้งตรง แตกกิ่งก้านต่ำ กิ่งแขนงส่วนใหญ่จะตั้งฉากกับลำต้น เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลเทาถึงเข้ม
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเป็นรูปไข่ ยาว 15-20 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนรูปหัวใจหรือกลม ก้านใบยาว 3-4 เซนติเมตร ผิวใบสากมือ สีเขียวสด
ดอก ดอกเป็นสีแสดแดง หรือ สีส้ม ออกเป็นช่อ กระจุกที่ปลายยอด ช่อดอกมี 10-40 ดอก กลีบเลี้ยงยาว 1-1.5 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นแฉกตื้น ๆ 3-5 แฉก มีขนปกคลุม ดอกรูปแตร บานออก มี 5-7 กลีบ เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-5 เซนติเมตร ดอกออกเกือบตลอดปี
ผล ผลเป็นรูปไข่ค่อนข้างกลม สีเขียว ยาว 2-2.5 เซนติเมตร เมื่อแก่เป็นสีขาว ผลมีเนื้อนุ่ม รับประทานได้

การขยายพันธุ์คอร์เดีย
เพาะเมล็ด และตอนกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่คอร์เดียต้องการ
ประโยชน์ของคอร์เดีย
เป็นไม้ประดับ ผลสุกมีกลิ่นหอม กินสดหรือปรุงสุก

สรรพคุณทางยาของคอร์เดีย
ทุกส่วนของต้น คอร์เดีย ใช้เป็นยาแก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ โรคกระเพาะอาหารและหลอดลม โดยตำรายาแผนไทย ใช้ต้มน้ำดื่ม เมล็ดมีคุณสมบัติลดอาการระคายเคืองและลดไข้

คุณค่าทางโภชนาการของคอร์เดีย
การแปรรูปของคอร์เดีย
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11499&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com/