คำมอกหลวง
ชื่ออื่นๆ : ไข่เน่า (นครพนม) คำมอกช้าง (เหนือ) ผ่าด้าม, ยางมอกใหญ่ (นครราชสีมา) แสลงหอมไก๋, หอมไก๋ (ลำปาง)
ต้นกำเนิด : ประเทศไทยที่ดอยสุเทพ
ชื่อสามัญ : คำมอกหลวง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gardenia sootepensis Hutch.
ชื่อวงศ์ : Rubiaceae
ลักษณะของคำมอกหลวง
ต้น ไม้ต้นขนาดกลางสูง 7-15 เมตร เปลือกสีเทาเข้มเรียบ แตกเป็นสะเก็ด มีน้ำยางเหนียวสีเหลืองข้นเป็นก้อนที่ปลายยอด กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม ผลัดใบช่วงสั้นๆ เวลาออกดอก

ใบ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปวงรีขอบขนานหรือแกมรูปไข่กลับกว้าง 12-18 ซม. ยาว 22-30 ซม. ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบมน ขอบใบเรียบ มีหูใบเป็นปลอกที่บริเวณรอบกิ่ง หลุดร่วงง่ายเห็นรอยแผลชัดเจน

ดอก ดอกเดี่ยวสีเหลืองสดเปลี่ยนเป็นสีซีดหรือสีขาวนวลเมื่อร่วง ออกที่ซอกใบ มีกลิ่นหอม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5.5-7 ซม. ออกดอกเดือนมีนาคม-เมษายน

ผล ผลสดรูปรีหรือรูปขอบขนาน ขนาดกว้าง 1.8-2.5 ซม. ยาว 2.2-4 ซม. ยาว 22-30 ซม. ติดผลตั้งแต่เดือนพฤษภาคม

การขยายพันธุ์ของคำมอกหลวง
การเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่คำมอกหลวงต้องการ
ประโยชน์ของคำมอกหลวง
- ปลูกเป็นไม้ประดับได้ดี ให้ดอกสวยงามตำรายาพื้นบ้าน
- ยางบริเวณยอดอ่อน ใช้อุดรูรั่วภาชนะในครัวเรือน
- เมล็ดเป็นยาสระผมและฆ่าเหา
- ผลสุก รับประทานและใช้สระผมให้เงางาม
สรรพคุณทางยาของคำมอกหลวง
เนื้อไม้ เข้ายากับโมกเตี้ย และสามพันเตี้ย ต้มน้ำดื่ม แก้บิด ถ่ายเป็นมูกเลือด
ยาพื้นบ้านใช้
เมล็ด ต้มน้ำผสมเป็นยาสระผม ฆ่าเหา
แก่น ผสมกับแก่นมะพอก ต้มรวมกันให้หญิงอยู่ไฟอาบและใช้สระผม
คุณค่าทางโภชนาการของคำมอกหลวง
การแปรรูปของคำมอกหลวง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9547&SystemType=BEDO
www.flickr.com