ดอกเข็มป่า
ชื่ออื่นๆ : เข็มตาไก่ (เชียงใหม่) เข็มโพดสะมา (ตานี) เข็มดอย (พายัพ) เข็มป่า (ไทย)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : ดอกยายกลั้ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ixora Cibdela Craib.
ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE
ลักษณะของดอกเข็มป่า
ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-2 เมตรใบกลมปลายแหลม เปลือกสีเทาปนน้ำตาล แตกกิ่งก้าน
ใบ ใบบางเรียบมัน ขอบใบเป็นหยักเล็กน้อย แผ่นใบหนาเป็นมันคล้ายแผ่นหนัง สีเขียว
ดอก ออกดอกเป็นช่อ ออกตามปลายกิ่ง ดอกสีขาวปนชมพู กลีบเลี้ยงสีแดงอมม่วง โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด รูปเข็ม
ผล ผลกลม ๆ และมีสีเขียว ผลสุกมีสีดำ

การขยายพันธุ์ของดอกเข็มป่า
การเพาะเมล็ด, ปักชำ, ตอนกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่ดอกเข็มป่าต้องการ
ประโยชน์ของดอกเข็มป่า
นำมาปลูกกันตาม วัดวาอารามแล้วตัวแต่งให้เป็นพุ่มให้สวยงาม
สรรพคุณทางยาของดอกเข็มป่า
- เปลือกต้น: รสเมาเบื่อ สรรพคุณ ตำคั้นเอาน้ำหยอดหูฆ่าแมลงเข้าหู
- ใบ: รสเมาเบื่อ สรรพคุณ ฆ่าพยาธิทั้งปวง
- ดอก: รสฝาดเย็น สรรพคุณ แก้โรคตา ตาแฉะ ตาแดง
- ลูก: รสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้ริดสีดวงงอกในจมูก
- ราก: รสเฝื่อน สรรพคุณ ขับเสมหะในท้อง ขับเสมหะในทรวงอกและแก้ฝีในท้อง
คุณค่าทางโภชนาการของดอกเข็มป่า
การแปรรูปของดอกเข็มป่า
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10428&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com