ชมพูพาน
ชื่ออื่นๆ : ชมพูภูพาน, ตุมกาแดง
ต้นกำเนิด : พบขึ้นตามเทือกเขาหิมาลัย ในประเทศไทยพบตามภูเขาสูงทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ตามป่าดิบเขา ลานหิน หรือคาคบไม้
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wightia speciosissima (D.Don) Merr.
ชื่อวงศ์ : SCROPHULARIACEAE
ลักษณะของชมพูพาน
ต้น ไม้ต้นหรือไม้พุ่มกึ่งอิงอาศัย ส่วนใหญ่มักเตี้ยแคระ สูง 1-3 ม. ลำต้นจะแคระแกร็น แตกกิ่งต่ำระเกะระกะ หรือขึ้นตามคาคบของต้นไม้ใหญ่ กิ่งอ่อนมีแผลระบายอากาศ
ใบ ใบรูปรีหรือรูปไข่กว้างแกมรี กว้าง 7-13 ซม. ยาว 10-25 ซม. โคนใบมน ปลายใบแหลม ผิวใบเกลี้ยง ก้านใบยาว 1.5-35 ซม.

ดอก ดอกสีชมพู ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 10-20 ซม. ก้านช่อดอกคลุมด้วยขนนุ่มสีน้ำตาลอ่อนหนาแน่น ดอกบานขนาด 3-5 ซม. โคนดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายเปิดพับเป็นปากบน ลักษณะกลมมนมี 2 หยัก ด้านข้างและด้านล่างมี 3 หยัก เกสรผู้สั้น 2 อัน ยาว 2 อัน อยู่ในหลอดดอก ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม

ผล ผลเป็นฝักสีน้ำตาล รูปเรียว ยาว 2.5-4 ซม. ผิวเรียบ เมล็ดมีปีก กว้าง 1.5 มม. ยาว 7 มม. แตกออกเป็น 2 ซีก
การขยายพันธุ์ของชมพูพาน
การใช้เมล็ด
การกระจายพันธุ์ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงใต้ ต่างประเทศพบที่ เนปาล อินเดีย (สิกขิม) ภูฎาน พม่า จีน (ยูนนาน) และเวียตนาม ชอบขึ้นบนพื้นที่มีอากาศเย็นตลอดปี บนภูเขาในป่าดิบเขาโปร่ง ที่ระดับความสูง 1,100 – 2,300 เมตร
ธาตุอาหารหลักที่ชมพูพานต้องการ
ประโยชน์ของชมพูพาน
ชมพูพาน เป็นพืชที่หายาก
สรรพคุณของชมพูพาน
คุณค่าทางโภชนาการของชมพูพาน
การแปรรูปชมพูพาน
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.qsbg.org, www.rspg.or.th
ภาพประกอบ : FB หอพรรณไม้
ชมพูพาน ดอกสีชมพู ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม