ชุมแสง
ชื่ออื่นๆ : กระเบียน (กาญจนบุรี) แก้ว (ลำปาง) ขางข้างต้นเกลี้ยง (เชียงใหม่) แสง (สกลนคร) แสงกึน (อุบลราชธานี)
ต้นกำเนิด : ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันตกเฉียงใต้ ในต่างประเทศพบที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Xanthophyllum lanceatum (Miq.) J.J.Sm.
ชื่อวงศ์ : XANTHOPHYLLACEAE
ลักษณะของชุมแสง
ต้น ไม้ต้นไม้ต้น สูง 8-15 เมตร ลำต้นตั้งตรง ทรงพุ่มแจ้กิ่งห้อยย้อยลงปลายกระดกขึ้น เปลือกเรียบสีนำตาลอมเทา

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปรี กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 12-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน ก้านใบยาว 5-10 มิลลิเมตร
ดอก ดอกสีขาวอมชมพู ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ยาว 6-8 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีขาวอมเหลือง กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว ดอกบานเต็มที่ขนาด 1-1.5 เซนติเมตร ออกดอกเดือนมีนาคม-เมษายน

ผล ผลเมล็ดเดียวแข็ง ค่อนข้างกลม ขนาด 2.5-3 เซนติเมตร สีเขียวเข้ม มีนวลสีขาว เมล็ดผิวขรุขระ ติดผลเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
การขยายพันธุ์ของชุมแสง
การเพาะเมล็ด
การปลูกดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลางถึงน้ำมาก ชอบแดดจัดถึงแดดปานกลาง
ธาตุอาหารหลักที่ชุมแสงต้องการ
ประโยชน์ของชุมแสง
- เมล็ด ให้น้ำมันใช้ปรุงอาหารและใช้ทั่วไป
- เป็นพืชสมุนไพร ราก เปลือกลำต้นและใบ มีสรรพคุณทางยา
สรรพคุณทางยาของชุมแสง
- เมล็ด แก้ปากนกกระจอก
- เปลือก ใช้แก้โรคลำไส้
คุณค่าทางโภชนาการของชุมแสง
การแปรรูปของชุมแสง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.biodiversity.forest.go.th, www.data.addrun.org, www.resourceportal.wu.ac.th
ภาพประกอบ : www.youtube.com
ต้นชุมแสง เป็นพืชสมุนไพร มีสรรพคุณทางยา