น้ำใจใคร่
ชื่ออื่นๆ : กระเดาะ(สงขลา) กระทอก, กระทอกม้า (ราชบุรี) กระทกรก (กลาง) กระดอกอก (สุพรรณบุรี) ควยเซียก (นครราชสีมา) ชักกระทอก (ประจวบคีรีขันธ์) นางจุม, นางชม (เหนือ) ผักรูด (สุราษธานี) อีทก (อุบลราชธานี)
ต้นกำเนิด : ประเทศอินเดีย ศรีลังกา พม่า จีน ภูมิภาคอินโดจีน ชวา คาบสมุทรมลายู และอินโดนีเซีย
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Olax psittacorum (Willd.) Vahl
ชื่อพ้อง : Olax scandens
ชื่อวงศ์ : OLACACEAE
ลักษณะของน้ำใจใคร่
ต้น ไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 2-3 เมตร เปลือกสีเขียวเข้ม ผิวเรียบ กิ่งก้านมีขนสั้นๆ เป็นขนละเอียดสีขาว มักมีหนามแข็งเล็กๆทั่วไป เนื้อไม้สีขาวนวล ตามกิ่งอ่อนมีขนสีขาวปกคลุม กิ่งมักห้อยลง กิ่งแก่เกือบเกลี้ยง มีหนามโค้ง
ใบ ใบเดี่ยว เรียงแบบสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก หรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ฐานใบสอบถึงมน สองข้างไม่เท่ากัน ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบหนา หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบมีสีอ่อนกว่า หลังใบ และท้องใบมีขนนุ่ม แผ่นใบกึ่งหนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนประปราย เมื่ออ่อนมีขนสั้นนุ่มตามเส้นกลางใบ เส้นแขนงใบข้างละ 5-8 เส้น ไม่ชัดเจน ก้านใบยาว 0.5-1 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่ม
ดอก ดอกช่อออกเป็นกระจุกตามซอกใบ มี 1-3 ช่อ ต่อซอกใบ มีกลิ่นหอม มีขนสั้นหนาแน่น กลีบดอกสีขาว 3 กลีบ รูปแถบแกมรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ยาว 7-8 มิลลิเมตร เกลี้ยง กลีบ 2 ใน 3 กลีบ มักมีแฉกย่อยที่ปลาย ดูคล้ายมี 5 กลีบ โคนกลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 5-6 แฉก ก้านชูดอกสั้น เกสรเพศผู้ 3 อัน อับเรณูรูปขอบขนาน เกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน รูปไข่แคบ ปลายแยกเป็น 2 แฉก รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปไข่หรือรูปรี เกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 3 แฉกไม่ชัดเจน ใบประดับที่โคนก้านช่อดอกยาว 0.5-3.5 เซนติเมตร ใบประดับย่อยร่วงง่าย ยาว 2-3 มิลลิเมตร ปลายมน มีสันตามยาว มีขนสั้นนุ่ม ก้านดอกยาว 1-5 มิลลิเมตร เกลี้ยง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เป็นรูปถ้วยค่อนข้างแข็ง ปลายตัด ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม ถึงมิถุนายน
ผล ผลสด แบบผลผนังชั้นในแข็ง รูปไข่ หรือกลม ขนาดกว้าง 0.6-1 เซนติเมตร ยาว 0.8-1.5 เซนติเมตร ผิวเรียบเป็นมัน โคนผลถูกห่อหุ้มด้วยกลีบเลี้ยง ประมาณ 2 ใน 3 ส่วน ปลายผลมีสีเข้มครอบเหมือนหมวกและมียอดเกสรเพศเมีย ติดคงทน จะร่วงไปเมื่อผลแก่จัดผล ผลอ่อนสีเขียวเมื่อสุกสีส้มถึงเหลือง มีเมล็ด 1 เมล็ด
การขยายพันธุ์ของน้ำใจใคร่
การใช้เมล็ด
พบขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าเขาทั่วไป
ธาตุอาหารหลักที่น้ำใจใคร่ต้องการ
ประโยชน์ของน้ำใจใคร่
ยอดอ่อน และผลสุกรับประทานได้
สรรพคุณทางยาของน้ำใจใคร่
ตำรายาพื้นบ้านอีสาน
- เนื้อไม้ รสฝาดเฝื่อนเล็กน้อย ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย แก้พิษเมาเบื่อ หรือฝนทารักษาบาดแผล
- ลำต้น แก้โรคไตพิการ (โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะขุ่นเหลือง หรือแดง มีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้) ใบ มีรสฝาดร้อน ใช้ตำสุมศีรษะ แก้หวัดคัดจมูก แก้ปวดศีรษะ
- ราก รสสุขุม ต้มดื่ม แก้ไข้ แก้ตัวร้อน ขับพยาธิ
- เปลือกต้น รสฝาดร้อน ใช้ทา รักษาแผลเน่าเปื่อย หรือต้มดื่ม บำรุงกำลัง
คุณค่าทางโภชนาการของน้ำใจใคร่
การแปรรูปของน้ำใจใคร่
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ภาพประกอบ : www.flickr.com
น้ำใจใคร่ ไม้พุ่มรอเลื้อย ลำต้นมักมีหนามแข็งเล็กๆ ทั่วไป