หนาดคำ
ชื่ออื่นๆ : เขืองแพงม้า หนาดดอย (ภาคเหนือ), พอปัวล่ะ ห่อเปรื่อะ ห่อเผื่อะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Inula cappa (Buch.-Ham. ex D.Don) DC.
ชื่อวงศ์ : Asteraceae
ลักษณะของหนาดคำ
ต้น เป็นพืชล้มลุก ลำต้นและกิ่งก้านมีขนสีน้ำตาลอมเหลืองปกคลุม
ใบ เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอกถึงรูปรีแกมขอบขนาน ยาว 5-20 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนมีขนเหนียวติดมือ ใต้ใบมีขนยาวสีเทาเงินหนาแน่น ออกดอกเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์
ดอก เป็นช่อใหญ่ ช่อดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยสีเหลืองเป็นกระจุกแน่น รองรับด้วยใบประดับ 2-3 ชั้น สีเขียวอ่อน
ผล รูปขอบขนานแคบ มีขนยาวสีเทาและมีขนยาวสีขาวที่ปลาย

การขยายพันธุ์ของหนาดคำ
พบตามทุ่งหญ้าและป่าโปร่ง บนเขาสูงทางภาคเหนือและภาคอิสานระดับความสูง 800-1000 เมตร
ธาตุอาหารหลักที่หนาดคำต้องการ
ประโยชน์ของหนาดคำ
ใช้เป็นอาหารสัตว์พวกเคี้ยวเอื้องได้ดี
สรรพคุณทางยาของหนาดคำ
- รากฝนน้ำกินแก้แพ้อาหาร ผื่นคัน
- ใบ ต้มน้ำดื่มช่วยย่อยอาหาร
- ทั้งต้น ต้มอาบหรือต้มรมหลัง คลอด แก้ปวดเมื่อย แก้วิงเวียนศีรษะ ต้มดื่มบำรุงเลือด
- ชาวเขาใช้ต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงและช่วยให้คลอดบุตรง่าย
คุณค่าทางโภชนาการของหนาดคำ
การแปรรูปของหนาดคำ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12117&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com