นางแย้ม
ชื่ออื่นๆ : ปิ้งหอม
ต้นกำเนิด : ประเทศไทย พม่า
ชื่อสามัญ : Glory Bower
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum fragrans
ชื่อวงศ์ : LABIATAE
ลักษณะของนางแย้ม
เป็นไม้พุ่มเนื้ออ่อน ใบเดี่ยว กว้างทรงรี ขึ้นสลับตามข้อของลำต้น ขอบใบมีหยัก เมื่อขยี้จะมีกลิ่นเหม็น ดอกสีขาวอมชมพู ออกเป็นช่อแน่นที่ปลายกิ่ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 6-10 ซม. บานไม่พร้อมกัน ส่วนบนจะบานก่อน มีกลิ่นหอมทั้งวัน ผลเนื้ออ่อนมีเปลือกหุ้ม เมื่อแก่จัดจะแตกเป็น 4 กลีบ มีเมล็ดหลายเมล็ด

การขยายพันธุ์ของนางแย้ม
-/-
ธาตุอาหารหลักที่นางแย้มต้องการ
ประโยชน์ของนางแย้ม
เป็นไม้ประดับ และมีสรรพคุณทางสมุนไพร ใบใช้ตำพอกแก้โรคผิวหนัง รากใช้ต้มดื่มแก้ปวดข้อ ริดสีดวงทวาร แก้หลอดลมอักเสบ ต้นใช้ต้มดื่มแก้กระดูกสันหลังอักเสบเรื้อรัง ปวดข้อ ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ
สรรพคุณทางยาของนางแย้ม
ราก ใช้รากแห้งต้มน้ำ ใส่ภาชนะพอนั่งได้ นั่งแช่น้ำรักษาริดสีดวงทวารมีหัวโผล่ ใช้รากหนักประมาณ 15 – 30 กรัมตุ่นกับไก่ รับประทานติดต่อกัน 2 – 3วัน รักษาโรคเหน็บชา ปวดขา ใช้รากแห้งหนักประมาณ 30 – 60กรัมต้มกับน้ำแก้ปวดเอวปวดตามข้อ เหน็บชามีอาการบวมน้ำ
นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาขับฤดูขาว แก้หลอดลมอักเสบ
ใบ ใช้ใบสดต้มน้ำล้างบริเวณที่เป็นโรคผิวหนังผื่นคัน หรือตำพอกบริเวณที่เป็นใช้ใบแห้งหนักประมาณ 15-30 กรัม ต้มน้ำรับประทานเป็นยาขับฤดูขาว แก้หลอดลมอักเสบ
ทั้งต้น ใช้เป็นยาแก้พิษเพื่อฝีกาฬภายใน..
คุณค่าทางโภชนาการของนางแย้ม
การแปรรูปของนางแย้ม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11797&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com