บอระเพ็ด
ชื่ออื่นๆ : เครือเขาฮอ, จุ่งจิง (ภาคเหนือ) บอระเพ็ด (ภาคกลาง) ตัวเจตมูลยาน, เถาหัวด้วน (สระบุรี) เจตมูลหนาม (หนองคาย) หางหนู (อุบลราชธานี)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Heart-leaved moonseed
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tinospora crispa (L.) Miers ex Hook. F & Thoms.
ชื่อวงศ์ : Menispermaceae
ลักษณะของบอระเพ็ด
ต้น ไม้เถาลำต้นเนื้ออ่อน เลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้อื่น เถากลมโตขนาดเท่านิ้วมือ มีไส้เป็นเส้นยาว มีเปลือกหุ้มเถาเป็นตุ่มเล็กๆ กลมๆ ตลอดเถา ยางมีรสขมจัด
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบรูปไข่หรือรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด โตขนาดเท่าฝ่ามือ คล้ายใบพลูหรือใบโพธิ์ หรือบอระเพ็ดพุงช้าง ปลายใบแหลม โคนใบเว้าเหมือนรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ เส้นแขนงใบมองเห็นชัดเจน ใบมีสีเขียวเข้ม
ดอก ออกดอกเป็นช่อขนาดเล็กมาก สีเหลืองอมเขียว


การขยายพันธุ์ของบอระเพ็ด
ใช้กิ่ง/ลำต้น/นำกิ่งมาปักชำ
ธาตุอาหารหลักที่บอระเพ็ดต้องการ
ประโยชน์ของบอระเพ็ด
รสขมจัด เย็น มีสรรพคุณระงับความร้อน แก้ไข้ทุกชนิด ช่วยเจริญอาหาร
สรรพคุณทางยาของบอระเพ็ด
- ราก รสขมเย็น ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ เจริญอาหาร
- เถาหรือลำต้น รสขมเย็น ต้มเคี่ยวกับน้ำใช้เป็นยาแก้ไข้ ขับเหงื่อแก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้สะอึก บำรุงกำลัง บำรุงน้ำดี บำรุงไฟธาตุ แก้โรคฝีดาษ ลดเสมหะ ลดน้ำตาลในเลือด เป็นยาอายุวัฒนะ
- ใบ รสขมเมา ขับพยาธิ แก้ปวดฝี ช่วยขับน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร รักษาโลหิตพิการ ช่วยระงับอาการสะอึก รักษาโรคพิษฝีดาษ เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงธาตุไฟ ทำให้ผิวพรรณผ่องใส หน้าตาสดชื่น
- ผล รสขม เป็นยารักษาโรคไข้พิษอย่างแรง และเสมหะเป็นพิษ
- ทั้งหัว รสขม เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ปวดเมื่อย แก้ไข้ปวดศีรษะ รักษาฟัน โรคริดสีดวงทวาร เจริญอาหาร แก้ร้อนใน รักษาโรคเบาหวาน
คุณค่าทางโภชนาการของบอระเพ็ด
การแปรรูปของบอระเพ็ด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10658&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
One Comment