ประดู่กิ่งอ่อน สะโน อังสนา
ชื่ออื่นๆ : ดู่บ้าน (ภาคเหนือ) ประดู่บ้าน, ประดู่ลาย (ภาคกลาง) สะโน (มลายู-นราธิวาส) ประดู่ไทย (ภาคกลาง) ประดู่กิ่งอ่อน (ทั่วไป) อังสนา
ต้นกำเนิด : มาเลเซีย แถบทะเลอันดามัน มัทราช และอ่าวเบงกอล
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterocarpus indicus Willd.
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE – PAPILIONOIDEAE
ลักษณะของประดู่กิ่งอ่อน สะโน อังสนา
ต้น เป็นไม้ต้นขนาดกลางผลัดใบ สูง 10 – 20 เมตร ลำต้นเปลาตรง ผิวเปลือกลำต้นมีสีดำหรือเทาลำต้นเป็นพูไม่กลม แตกกิ่งก้านสาขากว้าง มีเรือนยอดทึบแตกเป็นสะเก็ดร่องตื้นๆ
ใบ เป็นช่อแตกออกจากปลายกิ่ง มีใบย่อยประกอบอยู่ประมาณ 6-12 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรีปลายใบแหลมโคนใบมน ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียว ใบมีขนาดยาวประมาณ 2-3 นิ้ว กว้างประมาณ 1-2 นิ้ว
ดอก ออกเป็นช่อบริเวณโคนก้านใบหรือปลายกิ่ง ช่อดอกมีขนาดใหญ่ สีเหลือง แต่ดอกเล็ก ส่งกลิ่นหอมไกล ออกดอกก่อนฤดูฝน ดอกจะบานพร้อมกันและโรยพร้อมกัน
ผล ผลเป็นรูปโล่ มีครีบเป็นแผ่นกลม ตรงกลางนูน


การขยายพันธุ์ของประดู่กิ่งอ่อน สะโน อังสนา
ใช้เมล็ด/โดยเมล็ด ปักชำกิ่ง
วิธีปฏิบัติต่อเมล็ดและการเพาะเมล็ด เด็ดปีก แล้วแช่น้ำไว้ 1 คืน ก่อนนำไปเพาะ
ธาตุอาหารหลักที่ประดู่กิ่งอ่อน สะโน อังสนาต้องการ
ประโยชน์ของประดู่กิ่งอ่อน สะโน อังสนา
- เนื้อไม้ประดู่นำไปใช้ในงานก่อสร้างทั้งภายในและภายนอกอาคาร เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความทนทานสูง เนื้อไม้มีสีสวยงาม สีแดงอมเหลืองถึงสีแดงอิฐเข้ม มีเส้นสีแก่กว่าสีพื้น เสี้ยนสนเป็นริ้วไสกบตบแต่งชักเงาได้ดี
- เปลือกไม้ประดู่ใช้ย้อมผ้าได้และให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนังแก่นให้สีดำคล้ำใช้ย้อมผ้า
- ประดู่เป็นไม้เรือนยอดกลมโต แข็งแรงจะช่วยป้องกันลมและคลุมดิน ให้ร่มเย็นชุ่มชื้นและรองรับน้ำฝนลดแรงปะทะหน้าดินน้อยลงประกอบกับระบบรากหยั่งลึกแผ่กว้าง เช่นเดียวกับเรือนยอด จะช่วยยึดดินไม้ให้พังทลายได้ง่ายและรากมีปมใหญ่ ช่วยตรึงไนโตรเจนในอากาศมาเก็บไว้ในรูปไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ได้อีกด้วย ใบหนาแน่นเมื่อร่วงหล่นผุพัง เพิ่มธาตุอาหารอินทรียวัตถุแก่ดินอย่างมาก
- คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นประดู่ไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดพลังแห่งความยิ่งใหญ่เพราะ ประดู่ คือ ความพร้อม ความร่วมมือ ร่วมใจสามัคคี มีพลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากนี้ดอกของประดู่ยังมีลักษณะที่ระดมกันบานเต็มต้นดูลานตา ดังนั้นคนโบราณจึงได้เลือกเอาต้นประดู่เป็นไม้ประจำกอง กองทัพเรือ และคนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า ส่วนของแก่นไม้ยังใช้เป็นศิลปะการดนตรี ที่สำคัญของคนพื้นเมืองในสมัยโบราณอีกด้วย คือใช้ทำเป็นเครื่องเสียงพวกระนาด นั่นก็หมายถึง ความแข็งแกร่ง แข็งแรง
สัญลักษณ์
- ต้นไม้ประจำจังหวัดภูเก็ต ต้นไม้พระราชทานในโอกาสที่รัฐบาลได้จัดงานรณรงค์ โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชใมบัติ ได้กราบบังคมทูล สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเป็นองค์ประธาน และพระราชทานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัด
- ดอกประดู่เป็นสัญลักษณ์ของกองทัพเรือไทย
- ดอกประดู่เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และ จังหวัดอุตรดิตถ์
- ดอกประดู่เป็นดอกไม้ประจำชาติพม่า
- ดอกประดู่เป็นสัญลักษณ์และต้นไม้ประจำโรงเรียนวัดป่าประดู่
- ประดู่เป็นต้นไม้ประจำโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน
- ประดู่เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- ประดู่เป็นต้นไม้ประจำวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้
- ประดู่เป็นต้นไม้ประจำโรงเรียนเซนต์ราฟาแอล
- ประดู่เป็นต้นไม้ประจำโรงเรียนดรุณากาญจนบุรี
- ประดู่เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
- ประดู่เป็นต้นไม้ประจำโรงเรียนสตรีประเสริฐศิลป์

สรรพคุณทางยาของประดู่กิ่งอ่อน สะโน อังสนา
- เนื้อไม้ ต้มกินแก้ไข้ เสมหะ เลือดกำเดาไหล
- ใบอ่อนใช้พอกแผลให้แห้งเร็ว แก้ผดผื่นคัน
- ยางไม้ แก้โรคท้องเสีย
คุณค่าทางโภชนาการของประดู่กิ่งอ่อน สะโน อังสนา
การแปรรูปของประดู่กิ่งอ่อน สะโน อังสนา
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9866&SystemType=BEDO
www.satitm.chula.ac.th
www.flickr.com
One Comment