ปาล์มขวด
ชื่ออื่นๆ : ปาล์มขวด, ปาล์มราชา
ต้นกำเนิด : ประเทศคิวบา พบได้ทั่วไปในประเทศไทย
ชื่อสามัญ : Royal palm , Cuban Royal palm
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Roystonea regia (Kunth) Cook
ชื่อวงศ์ : PALMAE
ลักษณะของปาล์มขวด
ต้น เป็นไม้ยืนต้นประเภทปาล์มที่ไม่มีหน่อ ลำต้นตั้งตรงสูงถึง 50-70 ฟุต เมื่ออายุน้อยโคนต้นจะป่องพองออก แต่พอโตขึ้นจะเปลี่ยนไปป่องที่กลางลำต้น ทำให้ ลักษณะของลำต้น คล้ายกับขวด ผิวลำต้นเรียบสีน้ำตาลอ่อน
ใบ เป็นใบประกอบ ทางใบยาว 6-10 ฟุต ใบย่อยออกจากแกนทางใบเป็น 4 แถว ทำมุมต่างๆ กัน มีกาบใบห่อลำต้นไว้ คล้ายกาบหมาก กาบใบสีเขียว เรียบเป็นมัน

ดอก ออกดอกเป็นช่อ คล้ายกับจั่นหมาก อยู่ในกาบของทางใบ ช่อดอกโตและยาว เมื่อช่อดอกโตเต็มที่แล้ว จะแตกออกมาเป็นแขนง และมีดอกเล็กๆ ติดอยู่มากมาย ดอกเป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ
ผล ผลเล็ก กลม ขนาดไม่เกินครึ่งนิ้ว ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีม่วงอมดำหรือสีดำ
เมล็ด เมล็ดในผลมีรูปกลม ผลหนึ่งจะมีเมล็ดอยู่ภายในหนึ่งเมล็ด

การขยายพันธุ์ของปาล์มขวด
เพาะเมล็ด ชอบแดดจัด ต้องการน้ำมาก ปลูกได้ในดินทุกชนิด
ธาตุอาหารหลักที่ปาล์มขวดต้องการ
ประโยชน์ของปาล์มขวด
- นิยมปลูกเป็นไม้ประดับบริเวณสวนหย่อม สนามหญ้า ริมทาง หรือถนน บริเวณสวนสาธารณะ หรือสถานที่ทางราชการต่างๆ
- ยอดอ่อนรับประทานได้คล้ายยอดมะพร้าว
- ผลใช้เลี้ยงหมู
- เส้นใยจากกาบใบนำมาทำเครื่องจักสาน

สรรพคุณทางยาของปาล์มขวด
ราก ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
คุณค่าทางโภชนาการของปาล์มขวด
การแปรรูปของปาล์มขวด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11132&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
One Comment