ผักเมี่ยง
ชื่ออื่นๆ : ผักกะเหรี่ยง, ผักเมียง, เขลียงเรียนแก่
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : ผักกระเหรี่ยง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gnetum gnemon Linn. var. tenerum Markgr.
ชื่อวงศ์ : GNETACEAE
ลักษณะของผักเมี่ยง
ต้น ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 3 ม.
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว รูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 2-7 ซม. ยาว 8-15 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบมีติ่งแหลม
ดอก ดอกสีเขียวอมเหลือง ออกเป็นช่อแกน ลักษณะเป็นกลุ่มเรียงเป็นชั้นๆ ช่อดอกออกตามซอกใบ ยาว 3-8 ซม. ดอกย่อยแยกเพศ และอยู่ต่างต้น มี 5-8 ดอกต่อหนึ่งชั้น ดอกเพศผู้ลักษณะทรงกระบอก ดอกเพศเมียรูปทรงกลม
ผล ผลรูปไข่แกมรี ขนาดกว้าง 1 ซม. ยาว 1.5 ซม.

การขยายพันธุ์ของผักเมี่ยง
การเพาะเมล็ด, การตอนกิ่ง และการใช้ต้นจากราก แขนง
ธาตุอาหารหลักที่ผักเมี่ยงต้องการ
ประโยชน์ของผักเมี่ยง
ยอดอ่อน ช่อดอกและผล รับประทานเป็นผัก มีรสมันและขมเล็กน้อย
สรรพคุณทางยาของผักเมี่ยง
ใบ รับประทานเพื่อบำรุงเส้นเอ็น กระดูก สายตา และสามารถนำมาใช้ลอกฝ้าได้อีกด้วย
คุณค่าทางโภชนาการของผักเมี่ยง
การแปรรูปของผักเมี่ยง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9426&SystemType=BEDO
www.qsbg.org