ผักปลาบใบแคบ
ชื่ออื่นๆ : กิมกุ้งน้อย, ผักปลาบ (ภาคกลาง) ผักปลาบขอบใบเรียว (เชียงใหม่) ผักปลาบใบแคบ
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Commelin diffusa Burm.f
ชื่อวงศ์ : COMMELINACEAE
ลักษณะของผักปลาบใบแคบ
ต้น พืชล้มลุก สามารถเจริญเติบโตโดยอยู่ข้ามปีได้ มีลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ลำต้นกลม เรียบหรือมีขนเล็กน้อย อวบน้ำ จะชูส่วนปลายยอด แตกแขนงบริเวณโคนต้น รากฝอยแตกออกตามข้อของลำต้น
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นแบบสลับ ใบรูปร่างยาวรีรูปหยก ปลายใบแหลมไม่มีก้านใบ ฐานใบเรียวและแผ่ออกเป็นกาบห่อหุ้มลำต้น ใบกว้าง 1-2 ซม. ยาว 4-7 ซม.
ดอก ออกเป็นช่อชนิดไซม์ บนก้านช่อดอกจะมีใบประดับดอก สีเขียวคล้ายใบเป็นแผ่นกลม หรือรูปหัวใจห่อหุ้มดอกเอาไว้ ช่อดอกแตกออกเป็น 2 กิ่ง กิ่งบนมีดอกย่อย 1-3 ดอก ก้านดอกยาว กิ่งล่างมีดอกย่อย 2-5ดอก ก้านดอกสั้น ดอกย่อยแต่ละดอกจะมีกลีบดอกด้านล่าง มีเกสรตัวผู้ 6 อัน เป็นหมัน 4 อัน เกสรตัวเมียมีท่อรังไข่ยาวสีขาว
ผล เป็นชนิดแคปซูล แบ่งเป็น 3 ช่อง มีเมล็ดอยู่ภายใน 1-5 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาล รูปร่างค่อนข้างยาว จะเป็นสันอยู่บนด้านหนึ่งของเมล็ด พบตามที่ชุ่มชื้น ตามคลอง หนองน้ำ ในนา


การขยายพันธุ์ของผักปลาบใบแคบ
อาศัยเมล็ด และส่วนของลำต้น
ธาตุอาหารหลักที่ผักปลาบใบแคบต้องการ
ประโยชน์ของผักปลาบใบแคบ
- เป็นอาหารสัตว์ เช่น โคเนื้อ โคนม กระบือ
- ภาคเหนือใช้รับประทานเป็นผัก
- เป็นยาสมุนไพรพอกฝี พอกแผลมีพิษ
สรรพคุณทางยาของผักปลาบใบแคบ
คุณค่าทางโภชนาการของผักปลาบใบแคบ
การแปรรูปของผักปลาบใบแคบ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10321&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com