ผักเป็ดแดง
ชื่ออื่นๆ : ผักเป็ดฝรั่ง, ผักใหมแดง, พรมมิแดง
ต้นกำเนิด : อเมริกาใต้และเม็กซิโก
ชื่อสามัญ : Joy weed.;
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alternanthera bettzickiana (Regel) G.Nicholson
ชื่อวงศ์ : AMARANTHACEAE
ลักษณะของผักเป็ดแดง
ต้น พืชล้มลุกหลายปี ตั้งตรง ทรงพุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 30-50 เซนติเมตร อวบน้ำ แตกกิ่งก้านแน่น
ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปข้าวหลามตัดถึงรูปใบหอกกลับ รูปไข่หรือรูปรี ปลายแหลม โคนป้านหรือสอบ ขอบม้วนขึ้นด้านบนหรือเป็นคลื่น ๆ มีหลายสี เช่น สีแดง สีแดงปนเขียว สีม่วงอมชมพู สีเหลือง สีเขียวมีด่างขาว เส้นใบเป็นสีน้ำตาลหรือสีแดงคล้ำ มีขนละเอียด
ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแน่น บริเวณซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบดอกรูปทรงกลมหรือรูปขอบขนาน
ผล ผลแห้งไม่แตก เมล็ดเป็นสีน้ำตาลมีลักษณะคล้ายรูปโล่

การขยายพันธุ์ของผักเป็ดแดง
การปักชำกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่ผักเป็ดแดงต้องการ
ดินทั่วไป แดดรำไร-แดดจัด
ประโยชน์ของผักเป็ดแดง
- นิยมปลูกเป็นไม้คลุมดิน
- ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ดี เพราะมีสีสวย ปลูกง่าย ทนทาน เจริญเติบโตเร็ว สามารถปลูกทั่วไปได้
สรรพคุณทางยาของผักเป็ดแดง
- ทั้งต้นมีรสขื่นเอียน มีสรรพคุณฟอกและบำรุงโลหิต (ต้น, ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาดับพิษโลหิต (ต้น, ทั้งต้น)
- ช่วยแก้เส้นเลือดอุดตัน (ทั้งต้น)
- ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (ใบ)
- ทั้งต้นมีสรรพคุณในการขับพิษร้อนถอนพิษไข้ ช่วยทำให้เลือดเย็น (ทั้งต้น)
- ในประเทศศรีลังกาจะใช้ต้นนำมาต้มกินเป็นยาแก้ไข้ (ต้น)
- ใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ (ต้น, ทั้งต้น)
- ช่วยแก้ระดูพิการเป็นลิ่ม เป็นก้อนดำเหม็นของสตรี แก้ประจำเดือนขัดข้อง ช่วยฟอกโลหิตประจำเดือน (ต้น)
- ทั้งต้นใช้ตำพอกรักษาแผล (ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาห้ามเลือด (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย (ทั้งต้น) แก้ปวดเมื่อยบั้นเอวและท้องน้อย (ต้น)
- นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอื่น ๆ ที่ระบุสรรพคุณนอกเหนือจากที่กล่าวมาว่า ต้นมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้บิด แก้ท้องร่วง แก้ไข้ แก้พิษงูกัด กระตุ้นการไหลของน้ำดี ส่วนใบใช้เป็นยาแก้พิษที่ถูกงูกัด และรากใช้เป็นยาระบาย แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ใช้ปรุงเป็นยาฟอกโลหิต (ข้อมูลปลายทางยังขาดแหล่งอ้างอิง)
คุณค่าทางโภชนาการของผักเป็ดแดง
การแปรรูปของผักเป็ดแดง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11799&SystemType=BEDO
www.khaolan.redcross.or.th, www.flickr.com