ลักษณะประจำวงศ์
วงศ์มะรุม MORINGACEAE ลักษณะวงศ์เป็นไม้ต้นขนาดเล็กผลัดใบ ไม่มีหูใบ ใบประกอบมีใบย่อย 2-4 คู่แกนกลางใบบวม ที่ข้อ ติดเวียนสลับ ดอกสมบูรณ์เพศ สมมาตรด้านข้าง กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมี อย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกแยกจากกันติดตรงข้ามกับเกสรเพศผู้ รังไข่ติดเหนือวงกลีบมี 1 ช่อง ไข่อ่อนมีจำนวนมาก ติดที่ผนังโดยรอบรังไข่ ผลเป็นแบบแห้งแตก รูปยาวแคบเมล็ดมีปีก
ลักษณะเด่นของวงศ์
พืชวงศ์มะรุมเป็นไม้ต้น ใบประกอบ ผลเป็นแบบแก่แตก รูปยาวแคบ เมล็ดมีปีก
วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง
- Bignoniaceae – ใบติดตรงข้าม ดอกมีกลีบดอกเชื่อม
- Capparaceae – ใบไม้พบเป็นใบประกอบ
- Leguminosae – มีหูใบ มีพลาเซนตาเดียว
การกระจายพันธุ์
วงศ์มะรุม MORINGACEAE พบในเขตร้อนในประเทศไทยมี 1 ชนิด
- มะรุม Moringa oleifera Lam.
ประโยชน์
ใบอ่อนและฝักกินเป็นอาหาร รากและเปลือกเป็นสมุนไพร ผลและเมล็ดใช้ กรองน้ำให้บริสุทธิ์

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com
วงศ์มะรุม เป็นไม้ยืนต้นที่โตเร็ว ทนแล้ง ปลูกง่ายในเขตร้อน