พุทรา
พุทรา ชื่ออื่นๆ : พุทรา (ไทย) มะตัน , นางต้มต้น , หมากทัน (จำปาศักดิ์) , มะตันหลวง , มะตอง , มะตันต้น (ภาคเหนือ ) เป็นไม้ผลขนาดกลาง กิ่งเรียวเล็ก มีหนาม โดยเฉพาะบนกิ่งอ่อน ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ออกเรียงสลับ กิ่งมีหนาม ดอกเกิดเป็นช่อตามกิ่งย่อย ดอกมีขนาดเล็ก สีเขียวอมขาว กลิ่นค่อนข้างเหม็น ผลมีรุปร่างกลมหรือยาวรี ผิวเรียบสีเขียวอมเหลือง สุกแล้วมีสีน้ำตาลแดงเหี่ยวย่น ส่วนที่นำมาใช้เป็นอาหารผลสดใช้รับประทานรสหวานอมเปรี้ยวและยังนำมาใช้ในการแปรรูปเป็นของหวานได้หลายชนิด

ประโยชน์ของพุทรา
- พุทราประกอบไปด้วยเส้นใยอาหาร ช่วยให้รู้สึกอิ่มเร็ว และช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น เหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก มีคาร์โบไฮเดรตซึ่งมีหน้าที่หลักในการให้พลังงานแก่ร่างกายเพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆ
- เป็นผลไม้ ที่มีรส หวาน มักรับประทานเมื่อสดและสามารถนํามาทําเป็นน้ำผลไม้และผลไม้ตากแห้ง

สรรพคุณทางยาของพุทรา
ส่วนที่ใช้เป็นยา เปลือกต้น ใบ ผลดิบ ผลสุก
- เปลือกพุทรา จะมีรสฝาด ใช้ต้มกิน รักษาอาการท้องร่วง และอาเจียน
- เมล็ดพุทรา ใช้เผาไฟป่นทำเป็นยารักษาซางชักของเด็ก หรือใช้ตำสุมหัวเด็ก รักษาอาการหวัด คัดจมูกเวลาเย็น ๆ
- นอกจากเปลือกและเมล็ดแล้ว พุทราทั้ง 5 ยังมีรสฝาดเฝื่อน ใช้รักษาอาการบวม รักษาพยาธิ ฝีทั้งปวง อาการลงท้อง และอาการตกเลือด
- ผลดิบ รสฝาด แก้ไข้ สมานแผล
- ผลสุก รสหวานเปรี้ยว ขับเสมหะ แก้ไอ เป็นยาระบาย
- เมล็ด รสเฝื่อนฝาด ใช้เผาไฟป่นเป็นยารักษาซางชักของเด็ก หรือใช้โขลกสุมหัวเด็ก รักษาอาการหวัด คัดจมูกเวลาเย็น ๆ

คุณค่าทางโภชนาการของพุทรา
เนื้อพุทรา 100 กรัม มีวิตามินซี 44 มิลลิกรัม วิตามินซีมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและต้านสารอนุมูลอิสระ โดยเฉพาะพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์แอปเปิล จะมีวิตามินซีสูงกว่าพันธุ์อื่น ๆ แคลเซียมในพุทราช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน โพแทสเซียมช่วยลดความดันโลหิตและควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ จึงป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจได้ อีกทั้งยังมีฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในกระดูกและฟันรองจากแคลเซียม
การแปรรูปของพุทรา
พุทรานอกจากทานสดแล้วยังสามารถนำไปแปรรูปได้ เช่น การดอง เชื่อม กวน อบแห้ง เป็นต้น
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9994&SystemType=BEDO
https://www.thaihealth.or.th.
https://www.flickr.com