มะม่วงหัวแมงวัน ประโยชน์และสรรพคุณทางยา

มะม่วงหัวแมงวัน

ชื่ออื่นๆ : มะม่วงแมงวัน (ลำปาง) มะม่วงหัวแมงวัน (นครราชสีมา) รักหมู (ภาคใต้) หัวแมงวัน (สุโขทัย) ฮักหมู, ฮักผู้ (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด : พบในป่าเต็งรัง ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ

ชื่อสามัญ : มะม่วงขี้แมงวัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Buchanania lanzan Spreng.

ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE

ลักษณะของมะม่วงหัวแมงวัน

ต้นมะม่วงหัวแมงวัน ไม้ต้นขนาดเล็ก-กลาง 20 เมตร เปลาตรง เปลือกนอกลำต้นหนา สีน้ำตาลหรือสีดำ มีร่องเปลือกลึก ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับตอนปลายกิ่ง รูปใบมนหรือหยักเว้า เนื้อใบหนา หลังและท้องใบเกลี้ยง เรือนยอดพุ่มทึบ ดอกเป็นช่อออกที่ปลายกิ่ง สีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกดอกเดือนธันวาคม-มีนาคม ผลสีเขียว กลมรี ขนาดเล็ก ผลสดเมล็ดเดียวแข็ง ผลสุกสีม่วงดำ เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งและหนา เนื้อในสีน้ำตาลปนเทา ออกผลเดือนเมษายน – มิถุนายน

ดอกมะม่วงหัวแมงวัน
ดอกมะม่วงหัวแมงวัน สีขาวหรือเหลืองอ่อน
มะม่วงหัวแมงวัน
มะม่วงหัวแมงวัน ผลกลม รี ขนาดเล็ก ผลสุกสีม่วงดำ

การขยายพันธุ์ของมะม่วงหัวแมงวัน

ใช้เมล็ด

วิธีการปลูกมะม่วงหัวแมงวัน

การปลูกเตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร รองก้นหลุม ด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ ระยะปลูกแบบถี่ 2.5×2.5 เมตร หรือ 4×4 เมตร ระยะปลูกแบบห่าง 6×6 เมตร

การดูแลรักษา

การให้ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ที่หมักตัวสมบูรณ์แล้ว อัตรา 10-20 กิโลกรัมต่อต้น การให้ปุ๋ยเคมีควรใส่ทันทีหลังการตัด แต่งกิ่งโดยใช้สูตร 15-5-20 ช่วงก่อนออกดอกใส่สูตร 12-24-12 และช่วงหลังห่อผลใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 1 ใน 3 ของ เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม (หน่วยเป็นกิโลกรัม) ไม่เกิน 2 กิโลกรัม ต่อครั้ง

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ

  1. โรคแอนแทรคโนส เป็นได้ทุกส่วนทั้งใบ กิ่ง ดอก และผล ป้องกันกำจัดโดยพ่นสารเคมี เช่น สารคาร์เบนดาซิม
  2. โรคราแป้ง พบผงสีขาวขึ้นปกคลุมก้านดอกและใบอ่อนทำให้ ใบอ่อนและช่อดอกหลุดร่วง ป้องกันกำจัดโดยตัดกิ่งและใบที่เป็นโรค ทำลายโดยเผาหรือฝังดิน ระยะดอก ติดผลอ่อน พ่นสารไดโนแคป หรือไตรอะไดเมฟอน หรือกำมะถันผง โรคราดำ เป็นคราบดำเคลือบอยู่บนผิวนอกของใบพืชและผล เนื่องจากเชื้อราดำเจริญปกคลุมบนผิวโดยใช้สารน้ำหวานที่แมลงปากดูดถ่ายทิ้งไว้ โรคผลเน่าหรือโรคขั้วผลเน่า พบกับมะม่วงหลังเก็บเกี่ยว ป้องกันกำจัดเช่นเดียวกับโรคแอนแทรคโนส และควรเก็บมะม่วงอย่างระมัดระวัง และหลังจากหักก้านให้วางคว่ำบนผ้ากระสอบที่สะอาด ไม่ควรวางกับดินหรือหญ้า
  3. เพลี้ยไฟ ดูดกินน้ำเลี้ยงใบอ่อนและช่อดอก ทำให้ใบร่วงดอกร่วง ป้องกันกำจัดโดยระยะเริ่มผลิใบอ่อนและก่อนดอกบานจนติดผลขนาด 2-3 เซนติเมตร พ่นด้วยสารแลมป์ดาไซฮาโลทริน หรือสารเฟนโพรพาทริน ด้วงกรีดใบหรือด้วงงวงกัดใบมะม่วง พบการร่วงของใบอ่อนบริเวณโคนต้น ป้องกันกำจัดโดยเก็บใบอ่อนตามโคนต้นไปฝังหรือเผาทำลายเพื่อทำลายไข่และตัวหนอน หรือพ่นด้วยสารคาร์โบซัลแฟน ด้วงหนวดยาว เจาะทำลายลำต้นหรือกิ่ง พบขุยไม้ติดอยู่ภายนอก ป้องกันกำจัดโดยพ่นด้วยสารอิมิดาโคลพริดให้ชุ่มบริเวณต้นและกิ่งขนาดใหญ่ จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 2 สัปดาห์ เพลี้ยจักจั่นมะม่วง พบการทำลายที่ช่อดอกตั้งแต่เริ่มออกดอกโดยดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ดอกและผลร่วง ป้องกันกำจัดโดยพ่นสารแลมป์ดาไซฮาโลทริน หนอนผีเสื้อเจาะผลมะม่วง พบการทำลายเจาะผลมะม่วง ป้องกันกำจัดโดยเก็บผลที่หนอนเข้าทำลายเผา หรือฝังดิน หรือห่อผลมะม่วงด้วยถุงกระดาษ เมื่อผลอายุ 40-50 วัน แมลงวันผลไม้ พบการทำลายผลมะม่วงที่กำลังสุก ป้องกันกำจัดโดยใช้วิธีการห่อผล

ประโยชน์ของมะม่วงหัวแมงวัน

  • ยางและราก นำมาใช้ทำเป็นสีย้อมผ้า หรือสีพิมพ์ผ้าได้
  • กิ่งก้านใช้ทำเป็นฟืนหรือเผาเป็นถ่านได้เป็นอย่างดี
  • เนื้อไม้มีสีน้ำตาลอมเทา มีความแข็งแรงทนทาน นิยมนำมาใช้ในงานก่อสร้าง ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้หรือเฟอร์นิเจอร์ได้
  • มะม่วงมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก โซเดียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม และวิตามินซี มะม่วงสุกอุดมไปด้วยสารเบต้า-แคโรทีนที่ร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ และทำหน้าที่เป็นแอนติออกซิ-แดนท์ ช่วยต้านอนุมูลซึ่งเป็นสารที่ก่อมะเร็ง ตลอดจนบรรเทาอาการเสียดท้องและช่วยย่อยอาหาร อีกทั้งเป็นยาแก้อาการไอ ละลายเสมหะ แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ดับกระหาย ขับปัสสาวะ

สรรพคุณทางยาของมะม่วงหัวแมงวัน

  • เปลือกต้น ต้มน้ำแล้วดื่มแก้อักเสบจากโดนพืชพิษ
  • ยางและราก นำมาบดใช้ทำยาแก้โรคท้องร่วง
  • น้ำมันที่สกัดจากเมล็ด ใช้ทำเป็นยาแก้โรคผิวหนัง หรือทำเป็นเคมีภัณฑ์ต่างๆ ได้
  • ใบนำมาต้มกับน้ำเปล่านำมาล้างแผลได้ หรือใช้ใบที่ตำละเอียดมาพอกที่แผลจะช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น

ข้อควรระวังของมะม่วงหัวแมงวัน

ในเปลือกผลมียางเหมือนกับมะม่วงทั่วไป หากกินมากเกินไปอาจทำให้เกิดการระคายเคืองในลำคอได้
ผลดิบล้างยางออกให้หมด

การแปรรูปของมะม่วงหัวแมงวัน

เมล็ดเมื่อนำไปคั่ว จะหอมมัน คล้ายอัลมอนด์

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9564&SystemType=BEDO, www.doa.go.th, www.thaihof.org, www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment