ต้นรักป่า
ชื่ออื่นๆ : รักเขา (ชุมพร, ระนอง) รักป่า (ชุมพร, ประจวบคีรีขันธ์) รือขะ (มลายู, ปัตตานี) ต้นยางรัก
ต้นกำเนิด : พบตามป่าดิบชื้น ป่าที่ลุ่มต่ำ และบริเวณป่าพรุทางภาคใต้ของประเทศไทย
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Semecarpus curtisii King
ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE
ลักษณะของรักป่า
ต้น ไม้ต้นสูงถึง 15 เมตร เรือนยอดแคบ แตกกิ่งน้อย เปลือกสีน้ำตาลเทาหรือค่อนข้างคล้ำ เรียบหรือแตกสะเก็ดเปลือกชั้นในสีน้ำตาลแกมเหลือง
ใบ แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับถึงรูปหอกกลับ กว้าง 7-12 เซนติเมตร ยาว 23.5-47 เซนติเมตร ผิวใบด้านล่างขาวนวล ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบ เส้นแขนงใบ 14-38 คู่ ก้านใบยาว 2.5-7.5 คู่ แต่บางครั้งสั้นมาก

ดอก ดอกสีขาวนวลถึงเหลืองอ่อน มีเส้นลายสีน้ำตาล ออกเป็นช่อแยกแขนงตามปลายกิ่ง
ผล ผลค่อนข้างกลมถึงรี กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.75 เซนติเมตร ผลมีฐานผลบวมเป็นเนื้อ

การขยายพันธุ์ของรักป่า
การใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่รักป่าต้องการ
ประโยชน์ของรักป่า
เครื่องจักสานและเครื่องใช้สอย ยางรัก เป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตเครื่องเขิน ทำหน้าที่ประสานคล้ายกาวหรือเรซินทำให้โครงไม้ไผ่ของเครื่องจักสานให้มีความแข็งแรง ขณะเดียวกันเมื่อแห้งแล้วมีคุณสมบัติคล้ายพลาสติก น้ำซึมผ่านไม่ได้ และยังทำหน้าที่เป็นวัสดุเคลือบผิว และยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักสานได้เป็นอย่างดี
สรรพคุณของรักป่า
คุณค่าทางโภชนาการของรักป่า
การแปรรูปรักป่า
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี, www.biodiversity.forest.go.th, www.lannainfo.library.cmu.ac.th
รักป่า ยางของรักป่า เป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการทำหน้าที่ประสานคล้ายกาวหรือเรซินทำให้โครงไม้ไผ่ของเครื่องจักสานให้มีความแข็งแรง