ลักษณะประจำวงศ์
ชื่อวงศ์จันทร์แดง วงค์ของพืช ลักษณะเป็นไม้ต้น ไม้พุ่มทอดเลื้อย มีเง้าใต้ดิน ลำต้นเหนือดินมีรอยแผลใบ ใบที่โคนมีกาบหุ้มลำต้นเรียงสลับ หรือเรียงเวียนสลับรูปใบดาว ใบด้านบนลดรูปเป็นใบประดับหุ้มช่อดอก ดอกออกเป็นช่อมีก้านดอกโดด ช่อดอกแบบช่อกระชับช่อกระจุกหรือช่อแยกแขนงออกที่ปลายยอด หรือตามซอกใบ ใบประดับและใบประดับย่อยส่วนมากจะแห้ง ก้านดอกเป็นข้อดอกมีกลิ่นหอม บ้านกลางคืน วงกลีบรวมเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 แฉก ขนาดเท่ากันเกสรเพศผู้ 6 อัน เชื่อมติดกับวงกลีบรวมก้านชูอับเรณูติดกลาง รังไข่เหนือวงกลีบมี 3 ช่อง แต่ละช่องมี 1 ออวุล ก้านเกสรเพศเมียยาวเท่ากับเกสรเพศผู้ยอดเกสรเพศเมีย เป็นตุ่มหรือมี 3 แฉก ผลมีเนื้อหลายเมล็ด กลมรูปรีหรือหยัก 2-3 พู
ลักษณะเด่นของวงศ์
ลำต้นเหนือดิน มีรอยแผลใบ ใบลูกดาบโคนใบมีกาบหุ้มลำต้น ดอกมีกลิ่นหอม บานกลางคืน วงกลีบรวมเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 แฉก ขนาดเท่ากัน รังไข่เหนือวงกลีบมี 3 ช่องแต่ละช่องมี 1 ออวุล
การกระจายพันธุ์
เขตอบอุ่นทั่วโลกมี 1 สกุลประมาณ 100 ชนิดประเทศไทยมี 12 ชนิดนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
- สกุล Dracaena เช่น วาสนาหรือปะเดหวี Dracaena fragrans (L.) Ker Gawl. จันทร์แดง Dracaena loureiri Gagnep. หมากผู้ป่า Dracaena tenuiflora Roxb.
- สกุล Sansevieria ไม้ต่างถิ่น นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เช่น ว่านงาช้าง Sansevieria xylindrica Bojer Sansevieria ว่านลาย roxburghiana Schult.

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com
วงศ์จันทร์แดง พืชในสกุลนี้ได้แก่ วาสนา จันทร์แดง หมากผู้ป่า ว่านงาช้าง ว่านลาย