สลอด
ชื่ออื่นๆ : บะกั้ง (แพร่) มะข่าง, มะคัง, มะตอด, หมากทาง, หัสคืน (ภาคเหนือ) ลูกผลาญศัตรู, สลอดต้น, หมากหลอด (ภาคกลาง) หมากยอง (แม่ฮ่องสอน)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Purging Croton, Croton Oil Plant
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Croton tiglium Linn.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ลักษณะของสลอด
ต้น เป็นไม้พุ่ม ต้นเกลี้ยง สูง 3-6 ม. ใบเดี่ยว เรียงสลับกัน รูปไข่ กว้าง 2-7 ซม. ยาว 5-14 ซม. ปลายใบแหลม ฐานใบกลม ขอบใบหยักแบบซี่ฟัน มีเส้นใบ 3-5 เส้น ที่ฐานใบมีต่อม 2 ต่อม เนื้อใบบาง ก้านใบเรียวเล็ก ยาวประมาณ 4 ซม.
ดอก เล็ก ออกเดี่ยว ๆ หรือ ออกเป็นช่อที่ยอด ยาว 8-11 ซม. ใบประดับมีขนาดเล็ก ดอกเพศผู้ และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน หรือ อยู่ต่างต้นกัน. ดอกเพศผู้ มีขนรูปดาว กลีบรองกลีบดอก 4-6 กลีบ ปลายกลีบมีขน กลีบดอก 4-6 กลีบ ขอบกลีบมีขนาดฐานดอกมีขนและมีต่อมจำนวนมากเท่ากันและอยู่ตรงข้ามกันกับกลีบรองกลีบดอก เกสรผู้มีจำนวนมาก ก้านเกสรไม่ติดกัน เมื่อดอกยังอ่อนอยู่ ก้านเกสรจะโค้งเข้าข้างใน. ดอกเพศเมีย กลีบรองกลีบดอกรูปไข่ มีขนที่โคนกลีบ ไม่มีกลีบดอก หรือ ถ้ามีก็เล็กมา รังไข่มี 2-4 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 1 หน่วย ท่อรังไข่ยาว.
ผล แก่จัดแห้ง และแตก รูปขอบขนาน หรือ รี. กว้าง 1-1.5 ซม. ยาวประมาณ 2 ซม. หน้าตัดรูปสามเหลี่ยมมน ๆ.
เมล็ด รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 0.6-0.7 ซม. ยาวประมาณ 1 ซม. สีน้ำตาลอ่อน.


การขยายพันธุ์ของสลอด
ใช้เมล็ด การตอน และการปักชำ
ธาตุอาหารหลักที่สลอดต้องการ
ประโยชน์ของสลอด
–
สรรพคุณทางยาของสลอด
- ทุกส่วนของต้นเป็นพิษ น้ำต้มเนื้อไม้ใช้ในปริมาณน้อย ๆ กินเป็นยาขับปัสสาวะ ทำให้อาเจียน และขับเหงื่อ ยางจากทุกส่วนของต้น และเมล็ด เป็นพิษ.
- เมล็ด เป็นยาถ่ายอย่างแรง การใช้เมล็ดเป็นยาถ่ายต้องระวังมาก เพราะน้ำมันในมเล็ดสลอดมีพิษร้อนคอ ไข้ปวดมวนและระบายจัด ก่อนใช้ผสมยา ต้องคั่วจนเกรียมให้หมดน้ำมันเสียก่อน อีกวิธีหนึ่งเอาเมล็ดใส่ในข้าวสุกปั้นเป็นก้อนแล้วต้มให้นานๆ จึงใช้ผสมยา อีกวิธีหนึ่งต้องเอาเมล็ดสลอดใส่ปากไหปลาร้า ทิ้งไว้ 3 วัน จึงเอาขึ้นมาตากแห้งใช้ผสมยาได้ เมื่อจะทำยาระบาย ต้องมียาคุมฤทธิ์ไว้ให้ดี มิฉะนั้นจะมีคลื่นเหียน ปวดมวนไชท้องอย่างยิ่ง ฉะนั้น การใช้สลอดนี้ ถ้ายาคุมฤทธิ์ไว้ได้ดีก็จะเป็นยาวิเศษขนานหนึ่ง แต่ถ้าวิธีคุมฤทธิ์ไว้ไม่ดีก็อย่าบังควรใช้เลย ให้ใช้ยาขนานอื่นแทน
การออกฤทธิ์ : ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร
ส่วนที่เป็นพิษ : เมล็ด
สารพิษ : โปรตีน อาการ : คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ปวดท้อง อ่อนเพลีย จุกเสียด กระหายน้ำ ปวดศีรษะ อาจถ่ายเป็นเลือด ความดันเลือดต่ำ อัมพาต ผิวหนังแดง ชัก ม่านตาขยาย และสั่น อาจมีอาการเคลิ้มฝันในเด็ก เลือดออกใน retina
วิธีการรักษา :
- พยายามทำให้อาเจียน
- รับประทานยาเคลือบกระเพาะอาหารและลำไส้
- รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เพื่อล้างท้อง
- ให้รับประทานยาถ่ายประเภทเกลือ เช่น ดีเกลือ เพื่อลดการดูดซึมสารพิษ และให้น้ำเกลือเพื่อทดแทนน้ำ
- ลดการอุดตันต่อทางเดินในไตเนื่องจากเม็ดเลือดแดงที่เกาะรวมตัวกัน โดย ให้รับประทานโซเดียมไบคาร์บอเนต เช่น โซดามินท์วันละ 5-15 กรัม (17-50 เม็ด) เพื่อทำให้ปัสสาวะมีสภาพเป็นด่าง
- ระหว่างนี้ต้องให้อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น น้ำหวาน งดอาหาร ไขมัน เพื่อลดอาการตับอักเสบ
หมายเหตุ ต้องระวังอาการไตวาย และหมดสติด้วย
คุณค่าทางโภชนาการของสลอด
การแปรรูปของสลอด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9932&SystemType=BEDO
https://medplant.mahidol.ac.th
https://www.flickr.com