สายหยุด
ชื่ออื่นๆ : ครือเขาแกลบ (เลย) กล้วยเครือ (สระบุรี) สาวหยุด (กลาง, ใต้) เสลเพชร (สุราษฎร์ธานี)
ต้นกำเนิด : ประเทศจีนตอนใต้
ชื่อสามัญ : สายหยุด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Desmos chinensis Lour.
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
ลักษณะของสายหยุด
ต้น สายหยุดเป็นไม้เถาเลื้อยกึ่งไม้ยืนต้น มีเถาใหญ่แข็งแรงสามารถเกาะเลื้อยพันต้นไม้ หรือกิ่งอื่น ๆ ไปได้ไกล และมักจะแตกกิ่งก้านสาขามากในบริเวณยอด และจะแผ่กิ่งก้านสาขาออกไปเป็นบริเวณกว้าง กิ่งอ่อนจะมีสีน้ำตาลและมีขนอ่อน ๆ ขึ้นปกคลุมโดยทั่วไป ส่วนกิ่งแก่นั้นจะมีสีดำเป็นมัน ไม่มีขน
ใบ ใบจะออกสลับกันตามข้อต้น ใบจะเป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนานแกมรูปหอก ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย ใบด้านบนเรียบ ส่วนด้านล่างจะมีขน ขอบใบเรียบ ไม่มีจัก ใบสีเขียวเข้ม
ดอก สายหยุดจะออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกแบบตามขอต้นโคนก้านใบ และที่ตาซึ่งติดกับลำต้นลักษณะของดอกเมื่อยังตูมอยู่ จะเป็นสีเขียว และเมื่อบานจึงจะเป็นสีเหลือง ดอกจะห้อยลง ดอกมีขนาดเล็ก มีกลีบดอก 5-6 กลีบ แบ่งเป็น 2 ชั้น ๆ ละ 3 กลีบ และมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอกจะบิดงอเช่นเดียวกันกับดอกกระดังงาไทย มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียจำนวนมากอยู่ภายในดอก ดอกจะมีกลิ่นหอมจัดในตอนเช้าตรู่ พอสายกลิ่นก็จะค่อย ๆ ลดความหอมลง และจะหมดกลิ่นหอมลงเมื่อใกล้เวลาเที่ยงวัน


การขยายพันธุ์ของสายหยุด
การเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง
แต่จะนิยมการเพาะเมล็ดมากกว่าการตอนกิ่ง เนื่องจากสายหยุดเป็นพันธุ์ไม้ที่ตอนกิ่งงอกรากยากมาก และกิ่งตอนจะมีเปอร์เซ็นการตายสูงกว่าต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่สายหยุดต้องการ
ประโยชน์ของสายหยุด
- ปลูกเป็นไม้ประดับ
- ดอกสด มีน้ำมันหอมระเหย ทำให้มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เข้ายาหอมบำรุงหัวใจ
- ต้นและราก ใช้เข้ายาอบ รักษาอาการติดยาเสพติด
สรรพคุณทางยาของสายหยุด
- ราก ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย
- ราก มีสรรพคุณเป็นยาแก้ท้องเดิน
- รากและดอกมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้
คุณค่าทางโภชนาการของสายหยุด
การแปรรูปของสายหยุด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12094&SystemType=BEDO
www.flickr.com