หญ้าขี้กลาก
ชื่ออื่นๆ : กระจับแดง (นราธิวาส), กระถินทุ่ง (กลาง, ตราด), หญ้ากระเทียม (ปราจีนบุรี), หญ้าขี้กลาก (สระบุรี) และหญ้าบัว (ปราจีนบุรี, อุบลราชธานี) กระถินนา
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Tall yellow-eyed grass
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Xyris indica L.
ชื่อวงศ์ : Xyridaceae
ลักษณะของหญ้าขี้กลาก
พืชน้ำ ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 30 ซม. เจริญเติบโตเป็นกอ ใบแคบ เรียวยาว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ คล้ายใบหญ้าแต่อ่อนกว่า ที่ส่วนโคนของใบจะแผ่ออกเป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็นช่อเดี่ยวๆ ชนิดสไปค์ มีกลีบประดับสีน้ำตาลซ้อนกันแน่นคล้ายเกล็ดปลาห่อหุ้มดอก ดอกมีสีเหลืองสด มีกลีบดอก 3 กลีบ กลีบดอกจะเหี่ยวง่าย ทยอยบานจากโคนช่อดอกไปทางปลายช่อดอก ออกดอกในฤดูหนาว ผลเป็นชนิดแคปซูล แบ่งเป็น 3 ซีก ถูกห่อหุ้มด้วยกลีบดอกที่แห้งติดอยู่ พบมากในนาข้าวทิ้งร้าง

การขยายพันธุ์ของหญ้าขี้กลาก
ใช้เมล็ด พบขึ้นตามหนองน้ำ ในนาข้าวภาคตะวันออก ภาคตะวันออกฉียงเหนือ และภาคใต้ของประเทศไทย และในที่ดินเค็ม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่หญ้าขี้กลากต้องการ
ประโยชน์ของหญ้าขี้กลาก
ประโยชน์ : ใช้คลุมดินให้ชุ่มชื้น มีประโยชน์ทางเป็นยาสมุนไพร โดยนำ ราก มาต้มใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย ขับลมในกระเพาะ ต้มแล้วจะมีรสขมฝาด ใบใช้เป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องได้
สรรพคุณทางยาของหญ้าขี้กลาก
–
คุณค่าทางโภชนาการของหญ้าขี้กลาก
การแปรรูปของหญ้าขี้กลาก
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11704&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com